เรื่องสุขภาพ

กล้ามเนื้อ Muscles

กล้ามเนื้อเป้นเนื้อเยื่อที่ยืดหดได้และพบอยู่ทั่วร่างกาย ทำหน้าที่ตอบสนองการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น กล้ามเนื้อที่ใช้ยกแขน เรียกว่า กล้อมเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ ส่วนกล้ามเนื้อที่ทำงานโดยอัตโนมัติ เช่น กล้ามเนื้อที่ทำให้หัวใจเต้น เรียกว่า กล้ามเนื้อที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ กล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่ กล้ามเนื้อโครงร่าง กล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้ออวัยวะภายใน

 

กล้ามเนื้อโครงร่าง

ร่างกายคนเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่างประมาณ 640 มัด เป้นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจเกาะติดกับกระดูกด้วยเนื้อเยื่อเหนียวที่เรียกว่า เอ็นกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อบางมัดยึดกับผิวหนัง ตัวอย่างของกล้ามเนื้อโครงร่าง ได้แก่ กล้ามเนื้อใบหน้าทำให้คนเราแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ได้ เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจะสั้นลงและดึงขึ้น ดึงกระดูก (หรือผิวหนัง)ให้เคลื่อนที่ไปด้วย แต่เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่สามารถผลักเองได้ จริงต้องอาศัยกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ ช่วยดึงส่วนของร่างกายให้เคลื่อนที่กลับไปยังตำแหน่งเดิม ขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว เรียกว่า ตัวทำการ (agonist) กล้ามเนื้ออีกมัดจะลายตัว เรียกว่า ตัวต้าน (antagonist)  กล้ามเนื้อที่ทำงานเป็นคู่ในลักษณะดังกล่าวนี้ เรียกว่ากล้ามเนื้อคู่ตรงข้าม (antagonistic pair)

กล้ามเนื้อไบเซปส์ (biceps) และ ไทรเซปส์ (triceps) ที่ต้นแขนเป็นตัวอย่างขอ่งกล้ามเนื้อคู่ตรงกันข้าม ลองจับที่ต้นแขนของตัวเองเบา ๆ ในขณะที่งอและเหยียดแขนสลับไปมา คุณจะรู้สึกว่าขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว


 

กล้ามเนื้อหัวใจ

ส่นประกอบของหัวใจเกือบทั้งหมดเป็นกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ และทำงานต่อเนื่องอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย กล้ามเนื้อหัวใจทำงานแยกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ส่วนของหัวใจห้องบนหดตัว เพื่อบึบเลือดลงไปยังหัวใจห้องล่างและส่วนของหัวใจห้องล่างหดตัวเพื่อบีบเลือดเข้าไปในหลอดเลือดแดง


 

กล้ามเนื้ออวัยวะภายใน

กล้ามเนื้ออวัยวะภายในพบที่ผนังของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ซึ่งจะหดตัวเป็นจังหวะช้าอย่างต่อเนื่องโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เช่น กล้ามเนื้อของระบบย่อยอาหาร ที่บีบตัวดันอาหารให้เคลื่อนที่



 

เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อโครงร่างเป็นกล้ามเนื้อลายซึ่งประกอบขึ้นจากเซลล์รูปร่างเรียวยาวที่เรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ เส้นใจกล้ามเนื้ออยู่รวมกัน เรียกว่า กลุ่มเส้นใยกล้ามเนื้อ เส้นใจกล้ามเนื้อแต่ละเส้นประกอบขึ้นจากเส้นใยฝอยกล้ามเนื้ออยู่รวมกัน ภายในเส้นใยฝอยกล้ามเนื้อมีเส้นใยละเอียดชนิดหน้าและบางยึดเกี่ยวกันอยู่



เส้นใยละเอียด ชนิดหน้าประกอบด้วยโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่า ไมโอซิน (myosin) ส่วนเส้นใยละเอียด ชนิดบาง เป็นโปรตีนอีกชนิด เรียกว่า แอกติน (actin) เมื่อกล้ามเนื้อหดตัว เส้นใยละเอียดจะเลื่อนมาซ้อนกัน ทำให้กล้ามเนื้อสั้นและหน้าขึ้น




กล้ามเนื้อแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดหดตัวช้า ซึ่งใช้พลังงานหดตัวน้อยกว่า ทำให้ทำงานได้นาน โดยไม่ล้า ชนิดหดตัวเร็ว ซึ่งใช้พลังงานหดตัวมากกว่า สามารถให้กำลังออกมามากในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ล้าเร็ว

กล้ามเนื้อที่ต้นคอที่พยุงรับน้ำหนักศีรษะเป็นกล้ามเนื้อชนิดหดตัวช้า
กล้ามเนื้อแขนที่ใช้ขว้างวัตถุเป็นกล้ามเนื้อชนิดหดตัวเร็ว


กล้ามเนื้อหัวใจประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งมีเส้นใยที่เกลียวกันเป็นรูปตัว Y



กล้ามเนื้ออวัยวะภายในประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเรียบมีรูปร่างคล้ายกระสวยทอผ้า
 
ข้อมูล Library of Seience Humen Body
รูปภาพจาก http://www.usborne-quicklinks.com
ใส่คำอธิบายประกอบภาพเอง

ความรู้เพิ่มเติม
Kirsteen Rogers & Corinne Henderson