เรื่องสุขภาพ

โรคท้องเสียที่มากับหน้าร้อน (Diarrhea)

ท้องเสีย

ท้องเสีย หรือท้องร่วงเป็น โรคที่พบได้บ่อย ๆ ในบ้านเรา โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนนี้จะพบว่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะมีอาการท้องเสียกันมาก ขึ้น ซึ่งความรุนแรงของท้องเสียนั้นอาจเป็นเพียงเล็กน้อย ที่สามารถหายเองหรือเป็นรุนแรง จนกระทั่งมีอาการขาดน้ำ และเกลือแร่ จนถึงแก่ชีวิตได้

อย่างไรถึงเรียกว่า ท้องเสียปกติ

ลักษณะนิสัยในการถ่ายอุจระของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ทั้งความบ่อย และปริมาณของอุจจาระ แต่ถ้าพบว่ามีการถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นกว่าปกติ หรือมากกว่า วันละ 3 ครั้ง หรืออุจจาระมีปริมาณมากขึ้น หรือผิดไปจากเดิมคือของเหลวหรือน้ำมากกว่าเดิมถือว่าบุคคลนั้นเป็นโรคท้อง เสีย

ท้องเสียมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

ท้องเสีย สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ คือ ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน และท้องเสียชนิดเรื้อรัง ซึ่งทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้

1. ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน หมายถึงท้องเสียที่มีระยะฟักตัวสั้น และมีอาการไม่น่านหรือระยะเวลาเป็นวัน ไม่เกิน สัปดาห์ มักมีสาเหตุมาจาก

    * การได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ที่มีทั้งไวรัส และแบคทีเรีย
      บิด หมายถึง อาการถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดบ่อยครั้งร่วมกับอาการปวดเบ่งที่ทวารหนักคล้ายถ่ายไม่สุด
          o บิดชนิดไม่มีตัว มีสาเหตุมาจากเชื่อแบคทีเรียอาการท้องเสียรุนแรงร่วมกับมีไข้
          o บิดชนิดมีตัว มีสาเหตุมาจากเชื้อ โปรโตซัวไม่ค่อยมีอาการไข้ ไม่อ่อนเพลีย แต่อุจจาระจะมีกลิ่นเหม็น เหมือน หัวกุ้งเน่า
  Diarrhea 
    * อาหารเป็นพิษ เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในอาหาร มักพบในผู้ป่วยหลาย ๆ คนซึ่งรับประทานอาหารชนิดเดียว พร้อม ๆ กัน จะมีอาการท้องเสียรุ่นแรงในระยะเวลาอันสั้น หลังจากรับประทานอาหารมีอาเจียนร่วมด้วย
    * สาเหตุอื่น ๆ เช่น อาการจำพวกนม หรือสารให้ความหวาน ยาบางชนิด สารเคมี หรือโลหะหนักหรือพืชบางชนิด อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสียชนิดเฉียบพลันได้

2. ท้องเสียชนิดเรื้อรัง หมายถึงท้องเสียที่มีอาการติดต่อกันนานเป็น ๆ หาย ๆ มาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นปี มีสาเหตุมาจาก
  • อารมณ์ เกิดจากการผิดปกติของการทำงานของลำไส้ใหญ่ เวลามีอารมณ์เครียด เช่น เวลาสอบหรือเดินทาง แต่ไม่เป็นอันตราย
  • ความผิดปกติของเมตาบอลิซึ่ม เช่น ท้องเสียในผู้ป่วยที่มีไธรอยด์ฮอร์โมนสูงกว่าปกติ
  • การดูดซึมผิดปกติ ก็เป็นสาเหตุของท้องเสียเรื้อรังในผู้ป่วยบางรายได้เช่นกัน


วิธีการรักษาโรคท้องเสีย


   1. การให้ของเหลวทดแทน เนื่องจากผู้ป่วยมีการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ จึงจำเป็นต้องให้น้ำและเกลือแร่เข้าไปทดแทน เช่น น้ำเกลือผง (ORS) อาจจะเตรียมน้ำเกลือผสมเอง โดยใช้น้ำสุก 1 ขวด ผสมกับน้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่นครึ่งช้อนชา ให้ผู้ป่วยดื่มแทนน้ำ
   2. งดอาหารแข็ง, อาหารรสจัด หรืออาหารที่มีกากมาก ๆ โดยหู้ป่วยรับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป หรือข้าวต้มควรหลีกเลี่ยงนม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์
   3. การใช้ยาแก้ท้องเสีย เช่น ยาประเภทฝิ่น ยาเหล่นนี้ จะไปหยุดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้อาการท้องเสียบรรเทา ในกรณีที่ท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อ ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้
   4. การใช้ยาปฏิชีวนะ จะใช้ในกรณีที่ทราบเชื้อที่เป็นสาเหตุของท้องเสีย เช่น เชื้อบิดไม่มีตัวการใช้ยาปฏิชีวนะจะช่วยให้ระยะเวลาที่ท้องเสีย และอาการไข้สั้นลงได้ หากท้องเสียเกิดจากอาหารเป็นพิษหรือเชื้อไวรัส ยานี้ไม่ช่วยบรรเทาอาการได้เลย

วิธีป้องการโรคท้องเสีย


   1. บริโภคน้ำ และอาหารที่สะอาด และผ่านการปรุงที่ถูกต้อง
   2. เตรียมอาหารและเก็บอาหาร เช่น แช่แข็ง ตาก ดอง อย่างถูกต้องตามกรรมวิธี โดยคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลัก
   3. ในกรณีที่ต้องเดินทางไปต่างถิ่น การใช้ยาปฏิชีวนะป้องกัน จะช่วยลดโอกาส การเกิดท้องเสียในนักเดินทางได้



ข้อมูลมาจาก โรงพยาบาลเซ็นทรัล ปาร์ค ถนนบางนาตราด กม.16
ข้อมูลวันที่ 31 กรกฏาคม 2547

picture from  http://www.nlm.nih.gov/MEDLINEPLUS/ency/imagepages/19659.htm

 

Saksiri Sirikul Research