เรื่องสุขภาพ

ต่อมไพนีล หรือต่อมเหนือสมอง (Pineal gland)

ต่อมไพนีล เป็นต่อมเล็กๆ รูปไข่ หรือรูปกรวย คล้าย ๆ เมล็ดสน (pine cone) เป็นที่มาของชื่อ pinel gland ลักษณะค่อนข้างแข็ง สีน้ำตาล ขนาดยาวจากหน้าไปหลัง ๕-๑๐ มิลลิเมตร กว้าง และสูง  ๓-๗ มิลลิเมตร หนัก ๐.๒ กรัม ยื่นมาจากด้านบนของไดเอนเซฟฟาลอน  หรืออยู่ด้านล่างสุดของโพรงสมองที่สาม ประกอบด้วยเซลล์ 2 ประเภท คือเซลล์ไพเนียล( pinealocytes) และเซลล์ไกลอัน (glial cell)  จัดอยู่ในระบบประสาทคือการรับตัวกระตู้การมองเห็น (visual nerve stimuli) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นดวงตาที่ 3 ทำหน้าที่ควบคุมร่างกาย โดยทำงานร่วมกับต่อมไฮโปทารามัส (Hypothalamus) ซึ่งต่อมไฮโปทารามัส จะทำหน้าที่เกี่ยว ความหิว ความกระหาย เรื่องเซ็กส์ และนาฬิกาชีวิตซึ่งควบคุมอายุของมนุษย์ และเป็นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน

ต่อมไพนีล

ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล (pineal gland)

อยู่ บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วนซีรีบรัมซ้ายและขวา ฮอร์โมนที่สร้างจาากต่อมนี้ คือ เมลาโทนิน ยับยั้งการเจริญเติบโตของวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้าลง ระงับการหลั่งโกนาโคโพรฟินให้น้อยลง ถ้าต่อมไพนิลไม่สามารถสร้างเมลาโทนินได้ จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่าปกติ แต่ถ้าสร้างมากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ

กายวิภาคศาสตร์ของต่อมไพนิล

 

ต่อมไพเนียลทำหน้าที่เหมือนตัวกลางที่จะรับรู้ความยาวของกลางวันและกลางคืนและส่งสัญญาณในรูปของฮอร์โมนเมลาโทนินไปยังระบบต่างๆ เมื่อแสงสว่างผ่านเลนส์แก้วตาไปตกกระทบกับจอรับภาพบริเวณส่วนหลังสุดของลูกตาที่เรตินา (retina) ที่มีใยประสาทมาเลี้ยง จะส่งกระแสประสาทไปที่ ศูนย์รวมเส้นประสาทที่อยู่เหนือใยประสาทที่ไคว้กันเหนือสมองหรือ นิวเคลียสซูพราไคแอสมาติก( suprachiasmatic nuclei) ผ่านเส้นประสาทซิมพาเทติกจนถึงที่ปมประสาทซูพีเรีย เซอร์วิคัล (superior cervical ganglion) แล้วส่งต่อไปที่ต่อมไพเนียล



ตำแหน่งของต่อมไพเนียลและเส้นทางของสัญญาณประสาทจากตาสู่ต่อมไพเนียล
 

 

นอนดึกตื่นสาย

คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า การนอนแม้จะจำเป็น แต่ดึก ๆ มักมีเรื่องน่าดูในจอ โทรทัศน์ หรือไม่ก็บนจอ คอมพิวเตอร์เลยตากสายตา ดูโทรทัศน์ดึก ๆ วัยรุ่นเล่น คอมฯ กันจนเพลิน นอนสองยาม กะว่าจะตื่นเอาสาย ๆ ก็ทดแทนจำนวนชั่วโมงการ นอนได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงวัยรุ่นที่ต้องรีบไปเรียนหนังสือแต่เช้า หรือวัยทำงานที่ต้องแข่งขันเบียดแทรกตัวเองไปทำงานแต่เช้ามืด

ด้วยเหตุนี้คนที่นอนดึกตื่นเช้า จำนวนชั่วโมงการนอนก็ไม่ เพีงพออยู่แล้ว สุขภาพย่อม เสียด้วย ส่วนคนนอนดึกตื่น สาย ก็ใช่ว่าสุขภาพจะดีขึ้น นาน ๆ เข้าสุขภาพก็เสื่อม อีกเหมือนกัน

แท้ที่จริงสัตว์ต่าง ๆ ล้วนมีโครงสร้างของสรีระร่างกายที่กำหนดว่า สัตว์นั้นเป็นสัตว์กลางวันหรือสัตว์กลางคืน อย่างค้างคาว นกฮุก แมว ต้องถือว่าเป็นสัตว์กลางคืน เพราะมีเรดาร์ มีตาโตเอาไว้ใช้งานตอนกลางคืน แต่คนเราเป็นสัตว์กลางวัน

เดิมทีสัตว์มีกระสูกสันหลัง ชนิดแรกของโลกคือตัว ซา ลามันเดอร์ มีตาอยู่ 3 ดวง ดวงตาที่ 3 เป็นเกล็ดอยู่ ตรงกลางหน้าผากคอยทำหน้าที่รับแสงตะวัน เวลา กลางวันและสร้างฮอร์โมนซี โรโตนิน ทำให้มันแจ่มใส ออกมาหากิน ส่วนเวลา กลางคืนนั้นจะสร้างฮอร์โมน เมลาโตนิน ทำให้มันง่วง นอน ครั้นวิวัฒนาการจนมา เป็นคน เกล็ดนี้จมลึกเข้าไป ในหน้าผาก กลายเป็นต่อม เหนือสมอง หรือ ต่อมไพเนียล ยังคงสร้างฮอร์โมน สองชนิดนี้อยู่สลับกันทุกวัน หรือเรียกอีกอย่างว่า ต่อมนาฬิกาขีวภาพ ที่ปลุกให้เรา ตื่นในตอนเช้า และกล่อมให้ เราหลับในกลางคืนโดย อัตโนมัติ

การตากแสงไฟดึก ๆ จึงเป็นการรบกวนต่อมไพนียล ซึ่งเป็นนายเหนือต่อมฮอร์โมนทั่วร่างกาย มันส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองไป ไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ ถ้าต่อมไพเนียลทำงานผิดเพี้ยนไป ฮอร์โมนทั่วร่างกายก็ผิดเพี้ยนไปด้วย

งานวิจัยชิ้นหนึ่งของหมอลลิ ตา สมัยเป็นนึกศึกษาแพทย์ ซึ่งอาจารย์ร็อกกี้ เฟลเลอร์ จูงใจให้ทำ ทดลองส่องไฟ ใหนหนูทดลองตลอดคืน ทำ อยู่เช่นนั้นหลายวัน ปรากฏ ว่าหนูทดลองถึงกับแท้งลูก นี่ แสดงถึงความสำคัญของต่อม ไพเนียลถึงกับสร้างความ แปรปรวนของระบบฮอร์โมน ในร่างกาย เพียงเพราะว่า แสงไฟที่สอดส่องให้อย่างไม่ เป็นเวลา

งานวิจัยอีกชิ้นในสหรัฐฯ ทดลองในพยาบาลเวรดึก กลุ่มหนึ่งให้ออกเวรแล้วเดินผ่านอุโมงค์มืด ๆ ไปเข้านอน อีกกลุ่มให้เดินผ่านแสงตะวันยามเช้า ไปนอน เมื่อเจาะเลือดเปรียบเทียบระดับฮอร์โมนของร่างกาย พบว่า พยาบาลกลุ่มหลังฮอร์โมนแปรปรวนไปหมด ขณะที่กลุ่มแรกฮอร์โมนยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ นี่ก็อิทธิพลของแสงตะวันที่เจ้าตัวรับเข้าไปผิดเวลา แท้จริงแล้วคนเราจึงควรนอนหัวค่ำ ตื่นเช้า แทนที่จะตากแสงไฟอยู่จนดึก


การค้นพบเมลาโทนิน
ผู้ค้นพบเมลาโทนินคนแรกคืออาร์รอน เลอร์เนอร์ (Aaron Lerner) ในปีค.ศ. 1958 เมื่อก่อนนี้มีผู้นำสารจากต่อมไพเนียลที่สกัดแล้วทาบนผิวหนังของสัตว์ครึ่ง บกครึ่งน้ำ พบว่าทำให้ผิวหนังจางลง แต่ไม่ทราบว่าเพราะอะไร จนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ชื่อเลอร์เนอร์( Lerner) นำสารจากต่อมไพเนียลจากวัวหลายพันต่อมมาสกัดให้บริสุทธิ์ พบว่าช่วยฟอกสีเมลานินที่อยู่ที่ผิวหนังให้จางลง สารนี้มีสูตรโครงสร้างคล้ายซีโรโทนิน (serotonin) จึงเรียกสารนี้ว่าเมลาโทนิน (melatonin)
 


ข้อมูล: นายแพทย์ บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล, กับดักสุขภาพ 10 ประการที่คนไทยใหลหลง
อ้างอิงบางส่วน:

  • http://www.nakusol.com/node/60
  • http://www.promma.ac.th/special_science/supplementary/hormone(9)/chapter6/pineal_gland.htm
picture from:
  •  http://www.crystalinks.com/thirdeyepineal.html
  •  http://wakingdreamwisdom.com/the-power-of-the-signature-cell-healing/
  • http://www.promma.ac.th/special_science/supplementary/hormone(9)/chapter6/pineal_gland.htm



 


Saksiri Sirikul Research