เรื่องสุขภาพ

สารระเหย

สารระเหย

เป็นสารเคมีที่ระเหยได้ง่าย ที่ใช้ในการอุตสาหกรรม ได้แก่ ทินเนอร์, แลคเกอร์, กาว เป็นต้น เด็กและเยาวชน จำนวนมากที่ใช้สารระเหาย ในทางที่ผิด โดยนำมาสูดดม และกิดภาวะ เสพติด เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รัฐบาลได้แก้ปัญหานี้โดยออกกฏหมายเป็นพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ซึ่งมีบทกำหนดโทษผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ใช้สารระเหย เพื่อบำบัด ความต้องการของร่างกาย หรือจิตใจ

ร่างกายมีค่าอย่าทำลาย ด้วยสารระเหย

สารระเหย เมื่อสูดดมเข้าไปสู่ปอด จะถูกดูดซึมไปตามกระแสโลหิต สู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อย่างรวดเร็ว และ ทำลายระบบต่าง ๆ รวมทั้งอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง ตับ ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น

สารระเหยสารระเหย

พิษของสารระเหย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1. พิษเฉียบพลัน ภายหลังการสูดดม จะเกิดอาการ ตื่นเต้น หัวใจเต้นเร็ว ต่อมามีอาการมึนงงคล้ายคนเมาสุรา ควบคุมตนเองไม่ได้ ระคายเคือง เยื่อบุในปากและจมูก น้ำลายไหล คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม หมดสติ อาจกดศูนย์การหายใจทำให้ตายได้ ทั้งนี้อาการมากหรือน้อย ขึ้นกับชนิด และปริฒาร ของสารระเหยที่สุดดม
  2. พิษเรื้อรัง การสูดดมติดต่อเป็นเวลานาน ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทุกระบบเสื่อมสมรรถภาพกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการอักเสบของเนื้อปอด ทำให้เกิดอาการไอ หอบ เหนื่อย เจ็บหน้าอก กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยไม่มีแรง เกิดเป็นอัมพาตได้ การทำงานของตับ และไตล้มเหลว มีอาการทางจิตประสาท สมองเสื่อม ประสาทหลอน ก้าวร้าว มุทะลุ พฤติกรรมและอุปนิสัยเปลี่ยน ทำลายสมองส่วนควบคุมการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อ พูดไม่ชัด มือสั่น แขนขาสั่น เดินไม่ตรงทาง เป็นมาก มีอาการสั่นทั้งตัว นับว่าเป็นความพิการอันเกิดจากสารระเหย

การป้องกัน

เด็กและเยาวชน สามารถป้องกันตนเองได้โดย

หาความรู้เรื่องโทษพิษภัยของสารระเหย เพื่อป้องกันตนเอง และแนะนำผู้อื่นได้ รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ ช่วยกิจกรรมในบ้าน และโรงเรียน เล่นดนตรี หรือกีฬา ปลูกต้นไม้ ฯลฯ ประพฤติดี มีคุณธรรม เพื่อประโยชน์สุขของตนเอง ครอบครัว และสังคม

บิดามารดาผู้ปกครอง สำคัญ ในการป้องกันบุตรหลานโดย

มีความรู้เรื่องโทษพิษภัย พร้อมแนวทางการป้องกันอัตตรายจากสารระเหย อบรมเลี้ยงดู บุตร หลาน ด้วยความรัก ความเข้าใจ ปลูกฝังให้ประพฤติดีมีคุณธรรม มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่หลงตามเพื่อน เมื่อถูกชักชวนไปในทางที่ผิด ส่งเสริมให้บุตรหลานใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ควรเก็บผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารระเหยไว้ในที่ปลอดภัย

สารระเหยสารระเหย

ข้อควรระวัง

สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้หรือทำงานเกี่ยวข้องกับสารระเหย ควรใช้อย่างระวังและถูกต้องตามคำแนะนำที่ติดมากับผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ ป้องกันอย่าให้สารระเหยเข้าสู่ร่างกายโดยทางหายใจ หรือทางผิวหนัง โดยสวมหน้ากาก หรือใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และ สวมเสื้อผ้าปกคลุมให้มิดชิด ขณะใช้สารระเหย ขณะใช้สารระเหย ควรอยู่เหนือลม และในที่ ที่มีอากาศ ถ่ายเทได้สะดวก.

เมื่อติดสารระเหยจะทำอย่างไร?

รีบปรึกษาแพทย์หรือขอรับการบำบัดรักษาที่

  • คลินิกยาเสพติด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
  • สถาบันบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด และโรงพยาบาลทุกแห่ง

หรือขอคำปรึกษาแนะนำได้ที่

  • สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ราชดำริ โทร 0-2254-2039
  • กองป้องกัน และ บำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร


.

สารระเหย สิ่งเสพติด ผิดกฎหมาย

ข้อมูล กองป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักงานอนามัย .สารระเหย.0-2245-7804,0-2245-7790. มปป.
ข้อมูลเJดือน มกราคม 2542


Saksiri Sirikul Research