เรื่องสุขภาพ

ทันตกรรมบูรณะ สำหรับประชาชน

โรคฟันผุ เป็นโรคในช่องปากที่พบได้มากที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ในประเทศไทย เด็กอายุ 3 ปี จะมีฟันน้ำนมผุโดยเฉลี่ย คนละ 3 ซี่ และเพิ่มเป็น 6 ซี่ มื่ออายุ 6 ปี นับได้ว่าเด็กไทยจะมีฟันน้ำนมผุจำนวนมาก ในเด็กอายุ 12 ปี จะมีฟันถาวรผุโดยเฉลี่ย คนละ 2 ซี่ และเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ มากขึ้น พบว่าในผู้ใหญ่ อายุ 35-44 ปี จะมีฟันผุ จำนนเฉลี่ย ถึง 7 ซี่ และเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี จำนวนฟันผุก็ยิ่งสูงถึง 16 ซี่ ต่อคน

ปัญหาโรคฟันผุรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อพบว่าคนที่เป็นโรคฟันผุส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการรักษาโดย เฉพาะ เด็กเล็ก อายุ 3 ปี พบว่าร้อยละ 97 ของฟันที่ผุยังไม่ได้รรับการบูรณะโดย การอุดฟัน ฟันผุเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เด็กเล็กได้รับความเจ็บปวด และในที่สุดก็จำเป็นต้องถอนฟันไป ก่อนกำหนด ส่วนใหญ่ ผู้ใหญ่อายุ 35-44 ปี ฟันที่ผุจะถูกถอนออกไปแล้วกว่าครึ่งหนึ่ง ของฟันทั้งปาก ทั้งที่ฟันเหล่านี้สามารถเก็บรักษาไว้ได้ ถ้าได้รับการอุดฟันอย่างถูกต้องแต่แรก

การ "อุดฟัน" เป็นการรักษาโรคฟันผุ ช่วยป้องกันไม่ให้โรคฟันผุลุกลามต่อไป จึงช่วยลดความเจ็บปวดจากฟันผุที่จะลุกลามมากขึ้น และเป็นการเก็บรักษาฟันไว้ใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร และในด้านความสวยงามต่อไปด้วย

ในปัจจุบันวิวัฒนาการของวิชาการทันตแพทยศาสตร์ โดยเฉพาะในด้านทันตกรรมบูรณะ แทนวัสดุได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก และมีวัสดุอุดฟันชนิด ใหม่ ที่มีสีเหมือนฟันเพิ่มความสวยงาม รวามทั้งสามารถยึดติดแน่นกับเนื้อฟันได้ทางเคมี และที่สำรัญ คือสสามารถ ปล่อยฟลูออไรด์ออกมา ช่วยป้องกันฟันผุได้ด้วย

ถ้าท่านมีฟันผุในปากของท่าน หรือลูกหลานของท่านมีปัญหา เกี่ยวกับฟันผุ ท่านมีสิทธิ์ที่จะทราบว่าฟันผุของท่านสามารถได้รับการบูรณะ "อุดฟัน" ด้วยวัสดุอุดฟันชนิดไหน อย่างไร ด้วยเหตุผลทางวิชาการอะไร เพื่อให้ท่านสามารถเก็บรักษาฟันของท่านไว้ใช้งานได้ตลอดชั่วชีวิต
รูปแสดงฟันที่อุดแล้ว
ฟันไม่ผุ ฟันผุ ฟันอุดแล้ว

ฟันผุเป็นอย่างไร

ทำไมฟันถึงผุ


ในฟันที่ผุจนเป็นรูผุแล้ว จะมีเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปในเนื้อฟัน และมีการทำลายเนื้อฟันแล้ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้เชื้อจุลินทรีย์จะยิ่งทำลายเนื้อฟัน ลุกลามมากขึ้น และเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำใหมีความรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง

หลักการอุดฟันคือการ กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ และเนื้อฟันที่ถูกทำลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ ออกไป โดยการเก็บรักษาเนื้อฟันที่สามารถซ่อมแซม ได้ไว้ในปริมาณที่มากที่สุด และบูรณะรูผุด้วยวัสดุอุดฟันที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งานของฟันซี่ นั้น ๆ เช่น ฟันหน้าจะต้องพิจารณาถึง ความสวยงามเป็นหลัก ส่วนฟันหลังจะต้องพิจารณาถึงความทนทานต่อแรงบดเคี้ยวเป็นหลัก เป็นต้น นอกจากนั้นฟันที่อุดแล้วจะต้องสามารถ ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคงอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน

วัสดุอุดฟันที่ดี ควรมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับคุณสมบัติของฟันธรรมชาติ ทั้งในด้านความเข็งแรง ความยืดหยุ่น การนำความร้อนเย็น การ ละลายในน้ำ การปล่อยและรับฟลูออไรด์ รวมทั้งการยึดติดแน่นกับเนื้อฟัน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวัสุดอุดฟันชนิดใดที่เหมือนกับเนื้อฟันธรรมชาติ อย่างแท้จริง การเลือกวัสดุดในการอุดฟันจึงต้องพิจารณาจากคุณสมบัติดที่เหมาะสมกับสภาพ ช่องปาก อายุ และสถานภาพของผู้ป่วยแต่ละคน

ความรู้สมัยใหม่เกี่ยว กับฟันผุ บ่งชี้ว่าไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องกรอฟันที่มีเสียงดัง และก่อให้เกิดอาการเสียวฟัน ในการกำจัดเนื้อฟันที่ถูกทำลาย เสมอไป แต่อาจใช้เครื่องมือ คม ๆ สำหรับกำจัดเนื้อฟันเหล่านั้น การรักษาแบบนี้เป็นการรักษาที่ทำลายเนื้อฟันน้อย ที่สุดเท่าที่จำเป็น (Minimum Intervention) แต่จะต้องอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันที่สามารถยึดติดกับฟันได้และปล่อยฟลูออไรด์ออก มาป้องกันฟันผุได้ด้วย จึงจะให้ผลดีอาการเสียวฟันจากการกรอฟันด้วย
 

อุดฟันด้วยสัสดุอะไรดี?

กลาสไอโอโนเมอร์ กลาสไอโอโนเมอร์ เป็นวัสดุอุดฟันที่มีคุณสมบัติเด่นในด้านการยึดติดแน่นกับฟันทางเคมี โดยตรง สามารถปล่อยฟลูออไรด์ออกมาเพื่อช่วยป้องกันโรคฟันผุต่อไปได้ รวมทั้งไม่มีผลเสียต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก สีเหมือนฟัน แต่สึก กร่อนได้มากกว่าวัสดุอุดฟันชนิดอื่น
เรซิน คอมโพสิต เรซิน คอมโพสิต เป็นวัสดุอุดฟันที่ข้อเด่นทางด้านสีสวยเหมือนฟันธรรมชาติมากที่สุด สามารถยึดติดแน่นกับฟันได้โดยอาศัยสารยึดทางเคมีร่วมอื่นด้วย คงทนได้นานกว่ากลาสไอโอโนเมอร์ แต่ไม่มีการปล่อยฟลูออไรด์ออกมา จึงไม่มีผลในการป้องกันโรคฟันผุต่อไป
อมัล กัม อมัล กัม เป็นวัสดุอุดฟันดั่งเดิม ที่มีจุดเด่นที่ความแข็งแรงเพราะเป็นส่วนผสมของโลหะ แต่มีสี ไม่เหมือนฟัน (สีดำเงิน) ไม่สามารถยึดติดกับฟัน และไม่สามารถปล่อยฟลูออไรด์ในการป้องกันโรคฟันผุ


ฟันผุบริเวณใดควรบูรณะอย่างไร?

การเลือใช้วัสดุอุดฟันโดยหวังในการป้องกันโรคฟันผุและให้มีการสูญเสียเนื้อฟันให้น้อยที่สุด โดยแยกตามตำแหน่งและขนาดของ รอยผุของฟัน
ขนาด เล็ก ปานกลาง ใหญ่ ใหญ่มาก
ตำแหน่ง
หลุม/ร่องฟัน
หลุมเล็ก หลุมปานกลาง หลุมใหญ่ หลุมใหญ่มาก
วัสดุ กลาสไอโอโนเมอร์
เรซินคอมโพสิต
กลาสไอโอโนเมอร์
เรซินคอมโพสิต
กลาสไอโอโนเมอร์
เรซินคอมโพสิต
อมัลกัม
คลอบฟัน
ด้านประชิดฟัน ด้านประชิด ด้านประชิด ด้านประชิด ด้านประชิด
วัสดุ กลาสไอโอโนเมอร์
เรซินคอมโพสิต
กลาสไอโอโนเมอร์
เรซินคอมโพสิต
เรซินคอมโพสิต
อมัลกัม
คลอบฟัน
คอฟัน คอฟัน คอฟัน คอฟัน คอฟัน
วัสดุ กลาสไอโอโนเมอร์
เรซินคอมโพสิต
กลาสไอโอโนเมอร์
เรซินคอมโพสิต
กลาสไอโอโนเมอร์
เรซินคอมโพสิต
กลาสไอโอโนเมอร์
เรซินคอมโพสิต


ดูแลฟันที่อุดแล้วให้ใช้งานได้ตลอดไปอย่างไร?

ฟันที่อุดแล้วไม่ได้หมายความว่าฟันซี่นั้นของท่านจะปลอดภัยจากโรคภัยจากโรคฟันผุตลอดไป ฟันเหล่านั้นสามารถจะผุต่อไปได้อีกเช่นเดียวกับฟันซี่อื่น ๆ ในปาก โดยเฉพาะที่บริเวณรอยต่อของเนื้อฟันกับวัสดุกับวัสดุบูรณะฟัน

และถึงแม้จะอุดฟันด้วย วัสดุที่ดีและเหมาะสมมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังต้องการ การดูแลรักษาฟันอย่างต่อเนื่องด้วย การดูดแลรักษาฟันที่ ได้ผลและไม่ยุ่งยาก ได้แก่การแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์อย่างสม่ำเสมอ วันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 2 นาที เป็นอย่างน้อยและต้องแปรงฟัน ให้ถึงทุดซอกทุกมุมของฟันแต่ละซี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณคอฟัน ซึ่งเป็นที่เก็บกักของคราบจุลินทรีย์ที่จะเกิดฟันผุได้ง่ายต่อไป ทั้งนี้ให้ใช้ แปรงสีฟันมีขนแปรงอ่อนนุ่ม ซึ่งจะไม่ทำให้ฟันสึก และหงือกเจ็บด้วย ส่วนด้านประชิดของฟันซึ่งมักจะมีคราบ จุลินทรีย์สะสมอยู่ และการแปรงฟัน ธรรมดาไม่สามารถเข้าไปทำความสะอาดได้ถึง ก็ควรใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย

โรคฟันผุสามารถป้องกันได้ ถ้าท่านหมั่นดูและรักษาฟันอย่างสม่ำเสมอให้ถูกวิธี เช่น การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันโรคฟันผุ การใช้ฟลูออไรด์ การแปรงฟัน และ ควรให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปาก ปีละครั้ง เพื่อตรวจหารอยโรคฟันผุ และให้การอุดฟันที่ทันสมัย และ เหมาะสม ซึ่งไม่เจ็บปวด และเสียค่าใช้จ่ายน้อย รวมทั้งเป็นวิธีการที่จะเก็บฟันให้ใช้ได้ชั่วชีวิตต่อไปด้วย


เหล็กจัดฟันทำงานอย่างไร (และทำไมถึงใช้เวลานานนัก)


ข้อมูล คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ทันตกรรมบูรณะ สำหรับประชาชนทั่วไป.
หน่วยทันตกรรมพระราชทาน; 5 ธันวาคม 2542 :กรุงเทพฯ.
ข้อมูลวันที่ 24 มกราคม 2543


Saksiri Sirikul Research