เรื่องสุขภาพ

การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก (Early Detection of Cancer)

การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก

หลังการตรวจค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรก มีหลักการที่สำคัญดังนี้ คือ


    * การสอบถามประวัติโดยละเอียด มีความสำคัญเพราะว่าประวัติต่าง ๆ อาจเป็นแนวทาง เบื้องต้นที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ เช่น
         1. ประวัติครอบครัว มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคที่สืบเนื่องโดยตรงเกี่ยวกับพันธุกรรม แต่มีมะเร็งบางอวัยวะมีความโน้มเอียงที่จะเกิดใน พี่น้องครอบครัวเดียวกัน เช่น มะเร็งตาบางชนิด มะเร็งเต้านม เป็นต้น
         2. ประวัติ สิ่งแวดล้อม ปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบแน่นอนว่า มะเร็งเกิดจากสาเหตุใด แต่ก็มีข้อสังเกตุว่า สิ่งแวดล้อมบาง อย่าง อาจเป็นเหตุส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสี ในระยะเวลานาน ๆ อาจเป็นโรคมาะเร็งเม็ดเลือดขาว มากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ
         3. ประวัติส่วนตัว อุปนิสัย และความเป็นอยู่ส่วนตัว ของแต่ละบุคคล ก็อาจเปแนเหตุสนับสนุนให้เกิดโรคมาะเร็งบางอย่าง เช่น
                o ผู้ที่สูบบุหรี่มาก ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ
                o ผู้ที่มีประวัติการร่วมเพศตั่งแต่ อายุน้อย มีประวัติสำส่อนทางเพศ, มีบุตรมากจะเป็นมะเร็งปากมดลูก ได้มากกว่า ผู้ที่ไม่เคยแต่งงาน
         4. ประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ต่าง ๆ
                o เป็นตุ่ม ก้อน แผล ที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้น
                o ตกขาวมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
                o เป็นแผลเรื้อรังไม่รู้จักหาย
                o ท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมลงมาก
                o หูด หรือปานที่โตขึ้นผิดปกติ
                o เสียงแหบอยู่เรื่อย ๆ ไอเรื้อรัง
                o การเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจระ ปัสสาวะผิดไปจากปกติ
    * การตรวจร่างกายโดยละเอียดเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค ในด้านการปฏิบัติ แพทย์ไม่สามารถจะตรวจร่างกาย ได้ทุกอวัยวะ ทุกระบบโดยครบถ้วน จึงมีหลักเกณฑ์ว่า ในการตวจร่างกายทั่วไป เพื่อตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น ควรตรวจอวัยวะ ต่าง ๆ เท่าที่สามารถจะตรวจได้ดังต่อไปนี้
          o ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบางส่วน
          o ศีรษะ และ คอ
          o ท้อง
          o อวัยวะเพศ
          o ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ส่วนกลาง
    * การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจอื่น ๆ
         1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีประโยชน์ที่จะช่วยในการตรวจค้นหา การวินิจฉัย การรักษารวมทั้งการตรวจ ติดตามผลการักษาโรคมะเร็งด้วย การตรวจได้แก่
                o การตรวจเม็ดเลือด
                o การตรวจปัสสาวะ, อุจระ
                o การตรวจเลือดทางชีวเคมี
         2. การตรวจเอ็กซ์เรย์ มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งมีวิธีการหลายอย่าง เช่น
                o การเอ็กซ์เรย์ปอด ซึ่งเป็นวิธีการพื้นฐาน อย่างหนึ่ง ในการตรวจสุขภาพ
                o การเอ็กซ์เรย์ทางเดินอาหาร ในรายที่มีปัญหาสังสัยเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
                o การตรวจเอ็กเรย์เต้านม เป็นการตรวจลักษณะก้อนผิดปกติที่เต้านม
         3. การตรวทางเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ หลักสำคัญในการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยกลืนฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าว จะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ๆ เช่น การตรวจเนื้องอก ของต่อมไทรอยด์, สมอง, ตับ , กระดูกอ่อน เป็นต้น
         4. การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา
               1. การตรวจทางเซลล์วิทยา (Papanicoloau Smear) เป็นวิธีการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก ของอวัยวะ ต่าง ๆ ดังตัวอย่าง เช่น
                      o การขูดเซลล์ จากเยื่อบุอวัยวะบางอย่างให้หลุดออกมา เช่น ปากมดลูก, เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น
                      o เก็บเซลล์จากแหล่งที่มีเซลล์หลุดอมาขังอยู่ เข่ง ในช่องคลอด ในเสมหะ
         5. การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา เป็นการตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยการตัดเนื้อเยื่อ (Tissue Biopsy) แล้วตรวจละเอียดโดยกล้องจุลทรรศน์

    อนึ่ง โรคมะเร็งอาจเกิดแก่อวัยวะต่าง ๆ กัน มะเร็งบางอวัยวะ อาจตรวจวินิจฉัยได้ง่าย บางชนิดตรวจวินิจฉัย ได้ยาก แต่มีข้อสังเกตุว่า มระเร็งที่พบได้บ่อย ๆ ในประเทศของเรา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องปาก เป็นโรคที่อาจตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าสน ใจตรวจสุขภาพเป็นประจำ


ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก

    การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น มีประโยชน์ เพราะมะเร็งระยะเริ่มต้น อาจรักษาได้ผลดีมาก จนหายขาด และเป็นการป้องกันมิให้ผู้ป่วย เป็นโรคมระเร็งในระยะลุกลามซึ่งจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้

คำว่า "สายเสียแล้ว" จะไม่เกิดกับท่านที่ตรวจมระเร็งปีละครั้ง

ข้อมูล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก 4 มิถุนายน 2542

Saksiri Sirikul Research