เรื่องสุขภาพ

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Human Papilloma Virus)

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย และจะมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว โดยมีสถิติของผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน และเป็นต้นเหตุทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตมากกว่าปีละ 270,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 650 คน

Human Papilloma Virus (HPV)

ไวรัส HPV ที่มาของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

"มะเร็งมากมดลูก" ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ แต่มีสาเหตุสำคัญมาจากการติดเชื้อไวรัส ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แพทย์และนักวิจัยได้พยายามศึกษาหาสาเหตุขอโรคร้ายี้ และได้ค้นพบว่าประมาณ 99.7% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จะตรวจพบไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า HPV (Human Papillamavirus) ตัวเชื้อไวรัสเองนั้นก็มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งส่วนมากจะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ และมักจะหายไปได้เองตามระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ในจำนวนนี้มีประมาณ 30 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นชนิดที่เกิดการติดเชื้อในบริเวณอวัยวะเพศของหญิงและชาย

ปัจจุบันพบว่า การติดเชื้อ HPV จะพบบ่อยที่สุดในผู้หญิงวัยเยาว์ที่มีอายุระหว่าง 18 - 28 ปี หรือผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ทำให้เรามักจะพบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่ จะมีอายุในช่วง 35 - 50 ปี สืบเนื่องมาจกระยะเวลาของการติดเชื้อจนกระทั่งป่วยเป็นโรคนี้ซึ่งใช้เวลานานนับ 10 ปี

HPV-16

สาเหตุหลักของการเป็นมะเร็งปากมดลูก

เชื้อ HPV ชติดที่เป็นสายพันธุ์อันตรายและทำให้เซลล์บริเวณปากมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ได้แก่ HPV 16 และ 18 นั้น เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึง 70% ซึ่งโอกาสที่จะได้รับเชื้อ HPV เหล่านั้นส่วนมากจะผ่านทางสัมพันธ์รักกับคู่นอนของคุณ โดยในบางคนที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อ HPV เหล่านั้นออกไปได้ ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาจนส่งผลให้เป็นมะเร็งปากมดลูกรวมทั้งอาจทำให้เกิดมะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอดได้อีกด้วย

สำหรับผู้ชายหากมีการติดเชื้อ HPV ก็จะกลายเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสนี้ไปสู่บุคคลที่รักโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ผู้ชายที่ได้รับเชื้อเอชพีวีดังกล่าว ก็อาจมีผลต่อการเกิดมะเร็งทวารหนักและมะเร็งอวัยวะเพศชายได้เช่นกัน

นอกจากเชื้อ HPV ชนิดที่อันตรายและมีผลต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกแล้วยังมีเชื้อ HPV สายพันธุ์อื่น ๆที่มีความรุนแรงน้อยแต่ก็อาจนำมาซึ่โคติดต่อบางชนิดได้ เช่นโรคหูดอวัยวะเพศ (หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ) เกิดจากการได้รับเชื้อ HPV 6 และ 11 ที่เป็นสาเหตุหลัก 90% ของโรคนี้ ลักษณะของโรคหูดอวัยวะเพศ คือมีตุ่มไตแข็ง หรือติ่งเนื้องอกออกมาบริเวณอวัยวะเพศ โรคนี้ถึงแม้ว่าจะรักษาได้แต่ก็มักจะมีโอกาส กลับมาเป็นซ้ำ ๆ อีก จึงส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจขอผู้ป่วย และทำให้รู้สึกเป็นกังวลกับการที่ต้องรักษาอยู่เรื่อย ๆ

HPV 16
Virus-like Particles (VLPs) Assembled from the L1 Protein of Human Papillomavirus 16

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ความสำเร็จจากการค้นพบสาเหตุและวิทยาการของการแพทย์สมัยใหม่ ได้นำมาสู่การพัฒนาเป็นวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ (6,11,16,18) ที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% ในส่วนที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่สำคัญ โดยองค์การอาหาร และยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้ให้การรับรองว่าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์หลักเหล่านี้ได้ 100% ถ้าหาได้รับวัคซีนก่อนที่จะมีการติดเชื้อ นอกจากนี้ วักซีนดังกล่าวยังสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ชนิดที่ไม่มีผลต่อการเกิดมะเร็ง แต่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศได้อีกด้วย

ด้วยประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด รวมทั้งโรคหูดอวัยวะเพศ ทำให้วัคซีนมะเร็งปากมดลูกชนิด 4 สายพันธุ์ (6,11,16,18) นี้ ได้รับการยอมรับและผ่านการอนุมัติการใช้แล้วในประเทศไทย และกว่า 70 ประเส?ทั่วโลกนอกจากนี้ในประเทศชั้น้ำอย่างออสเตรเลีย และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา ยังได้ประกาศให้วัคซีนนี้เป็นภาคบังคับ สำหรับเด็กหญิงและผู้หญิงในช่วง อายุ 9-26 ปี อย่างไรก็ดีขณะนี้การวิจัยประสิทธิภาพของวัคซีนยังคงดดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง และได้ขยายผลครอบคลุมมาสู่กลุ่มผู้หญิงในช่วงอายุ 27-45 ปีแล้ว

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้วการตรวจพบเป็บสเมียร์ PAP SMEAR อย่างสม่ำเสมอก็เป็นเรื่องที่สูติ-นรีแพทย์ ยังคงแนะนำให้ปฏิบัติอยู่ในส่วนของเชื้อ HPV เฉพาะสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุหลัก 70% ของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ในขณะที่เราอาจจะยังมีโอกาสติดเชื้อ HPV ในสายพันธุ์อื่น ๆ อีก 30% ที่อาจมีผลต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน

การป้องกันเพื่อห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูก

โดยมีข้อแนะนำดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่อายุน้อย จากพฤติกรรมของการมีเพศสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบัน
  2. ควรจะให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองมะเร็งมากมดลูกที่เรียกว่า"แป็บสเมียร์" (Pap Smear) ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยควรที่จะรับการตรวจเป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อให้เราทราบว่า เซลล์บริเวณปากมดลูกมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติหรือไม่

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนี้ ต้องฉีดกี่เข็มและจะป้องกันได้นานเท่าไหร?

คุณจะต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยฉีดเข็มแรกแล้วจึงฉีดเข็มถัดมาในเดือนที่ 2 จากนั้น จึงฉีดเข็มสุดทั้ยในเดือนที่ 6 จากข้อมูลการศึกษาได้ยืนยันว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจะอยู่ได้อย่างน้อย 5 ปี ทั้งนี้ปัจจุบันการศึกษาระยะเวลาของการป้องกันยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่าภูมิคุ้มกันอาจจะสามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี หรือมากกว่านั้น


ข้อมูลโรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล พหลโยธิน
นำลงเว็บไซต์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552
picture from :

  • http://www.healthline.com/blogs/health_observances/2007_01_01_health_observances_archive.html (cervix)
  • http://www.bc.biol.ethz.ch/teaching/projects/Helenius (hpv-16)
  • http://www.cdc.gov/STD/hpv/STDFact-HPV-vaccine-hcp.htm (hpv 16)
  • http://www.lampangcancer.com/lpccWebnew/index.php?option=com_content&task=view&id=37&Itemid=46 (pep smear)

 


Saksiri Sirikul Research