เรื่องสุขภาพ

โรคเกาต์ gout

เป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของการสันดาป (metabolism) สาร purines ซึ่งมีอยู่ในเนื้อเยี่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ได้เป็นกรดยุริคที่มีระดับสูงกว่าปกติในเลือด

gout dyn
การที่กรดยูริคในเลือดสูงและครั่งอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน จนร่างกายขับออกทางไตไม่ทัน กรดยูริกจะตกผลึกเป็นเกลือยูเรตสะสมที่กระดูกอ่อนและเนื้อเยี่ยรอบข้อ เป็นเหตุให้ข้ออักเสบเฉียบพลันรุ่นแรงอย่างรวดเร็วในเวลา 12-24 ชั่วโมง

Chemical Structure of Uric Acid
Chemical Structure of Uric Acid


อาการ

อาการข้ออักเสบมักกำเริบด้วยระดับกรดยูริกในเลือดที่เปลี่ยนแปลงทันทีดทันใด คือระดับสูงขึ้นหรือลดลงฉับพลันซึ่งอาจเกิดจาก
  • หลังจากดื่มไวน์ โดยเพาะไวน์แดง
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลังออกกำลังกาย
  • ยาต้านมะเร็ง
สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูงจนโรคเกาต์กำเริบได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีข้ออักเสบกำเริบหลังรับประทานอาหารที่ประกอบด้วย purines ในปริมาณสูง

การมีกรดยูริกในเลือดสูงโดยไม่มีข้ออักเสบไม่ถือว่าเป้นโรคเกาต์
  • มีถึง 70% ของผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงที่ไม่มีอาการแต่อย่างใด
  • เพียง 30% ของผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์สูงกว่าผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเพียงเล็กน้อย
  • มีผู้ป่วยประมาณ 20% เท่านั้นที่มีระดับของกรดยูริกในเลือดปกติขณะที่มีข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเกาต์
นั่นหมายความว่าผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่จำเป็นต้องมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงและการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงไม่ได้หมายความว่าเป็นโรคเกาต์เสมอไป
เราจึงไม่ได้ใช้ระดับกรดยูริกในเลือดเป็นหลักในการวินิจฉัยโรคเกาต์ หากแต่วินิจฉัยจากอาการปวดข้อรุนแรงฉับพลัน และการตรวจพบผลึกยูริกจากของเหลียวที่เจาะจากข้อ

การอักเสบแต่ละครั้ง มักเกิดขึ้นเพียงข้อเดียวเท่านั้นส่วนใหญ่เป้นที่ข้อหัวแม่เท้า อาจเป็นที่ข้ออื่น ๆ เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า และที่พบไม่บ่อย คือ ข้อมือ ข้อศอก ข้อนิ้วมือก็ได้

gout

ข้อที่อักเสบมักบวม แดง กดเจ็บ และปวดมากขึ้นเมื่อขยับข้อหรือลูบสัมผัสเพียงเบา ๆ อาการปวดมักรุนแรงฉับพลันทุกข์ทรมานจนเดินลำบาก เดินกระเผลก อาจมีไข้ต่ำ ๆ ในผู้ป่วยบางราย

Foot Problems

หากได้รับการรักษาจะหายสนิทในเวลา 1-3 วัน แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษามักหายเป็นปกติได้เองในเวลา 1 สัปดาห์และเว้นระยะเวลาอีกหลาย เดือนหรือเป็นปี จึงมีอาการข้ออักเสบกำเริบขึ้นมาใหม่

การกำเริบข้อข้ออักเสบจะถึ่ขึ้น ระยะเวลานานขึ้นและเป็นหลายข้อขึ้นตามระยะเวลาที่ป่วย ดังนั้นจึงมีเพียงนาน ๆ ครั้งเท่านั้นที่พบข้ออักเสบมากกว่า 1 ข้อในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักเป็นในผู้ป่วยโรคเกาต์เรื้อรัง

หากไม่ได้รับการรักษา ผลึกยูเรต ปริมาณมากที่สะสมในข้อ, เนื้อเยี่อรอบข้อ, กระดูกอ่อน จะรวมกันเป็นของเหลวคล้ายชอล์กหรือยาสีฟัน เกิดก้อนใต้ผิวหนังซึ่งจะมีขนาดค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นเรียกว่า tophus ก้อน tophus จะทำลายเนื้อเยื้อโดยรอบทำให้ข้อผิดรูป, พิการ, เส้นเอ็ดขาด

ก้อน tophus จะทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบทำให้ข้อผิดรูป

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์เรื้อรังนานวันเข้า ก้อน tophus มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เกิดก้อนตะปุ่มตะป่ำ (tophus) ที่เนื้อเยื่อรอบข้อ  อาจแตกออกเป็นแผลและมีของเหลวสีขาวคล้ายยาสีฟันไหลออกมาจากก้อน

An ulcerated tophus of gout

นอกจากนี้กรดยูริกที่สูงในเลือดถูกขับออกทางไตในปริมาณมาก ทำให้ความเข้มข้นของเกลือยูเรตในปัสสาวะสูงตามไปด้วย หากไม่ได้รับการรักษา เกลือยูเรตที่สูงเป้นระยะเวลานาน จะไปตกผลึกในไต เกิดภาวะไตวาย นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

มีแนวโน้มที่จะพบโรคเกาต์ในเครือญาติ นั่นคือผู้ที่มีกรดยูริคในเลือดสูง และมีญาติสายตรงเป็นโรคเกาต์ มีความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงกว่าผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีญาติเป็นโรคเกาต์

พบโรคเกาต์ในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง 9-10 เท่าผู้ป่วยส่นใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 35 ปีขึ้นไป สำหรับเพศหญิงพบในวัยหมดระดูเป็นส่วนใหญ่

โรคที่มักพบร่วมกับเกาต์

  • ความดันโลหิตสูง
  • หลอดเลือดแดงแข็ง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • เบาหวาน


เราควรดูแลตัวเองได้อย่างไร

  • ไปพบแพทย์หากมีอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน
  • ประคบเย็นขณะข้ออักเสบเฉียบพลัน
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รับประมานอาหารให้ถูกสัดส่วน หากน้ำหนักเกินมาตรฐาน ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือดัชนีมวลกาย (body mass index หรือ BMI) ไม่ควรเกิน 23 kg/m2   โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว (เป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลัง2 หรือวัดรอบเอวไม่ควรเกิน 32 นิ้ว (80 ซม.) ในเพศหญิง และ 36 นิ้ว (90 ซม.) ในเพศชาย
  • รับประทานอาหารให้พอเหมาะและสมดุล หลีกเลี่ยงอาหารที่มี purines สูง โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีข้ออักเสบกำเริบหลังรับประมาณอาหารที่มี purines สูงมาก่อน ได้แก่ เครื่องในสัตว์, เนื้อสัตว์, ซุปจากการต้มเคี่ยวเนื้อสัตว์, น้ำต้มกระดูก, น้ำเกวี่, ปลาซาร์ดีน, หอยบางชนิด, ไข่ปลา, ถั่ว, ยอดผัก, หน่อไม้, แตงกวา ฯลฯ (ทั้งนี้การควบคุมอาหารสามารถลดระดับกรดยูริคในเลือดได้เพียงเล้กน้อยเท่านั้น)
  • จำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์และไวน์ของหมักดองจากยีสต์
  • ดื่มน้ำในปริมาณมากเพื่อลดความเสี่ยงของนิ่วที่ไต
  • รับประทานยาสม่ำเสมอตามคำสั่งแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  • หากมีอาการแพ้ยา ควรหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (ควรทำในขณะโรคสงบ)
 
ข้อมูลโรงพยาบาลศิครินทร์ (10 สิงหาคม 2553)
picture:
http://www.suckhoeso.com/detail/dieu-tri-benh-gout.html
http://natural-cures.org/blog/category/gout/
http://billyteoh.wordpress.com/2008/07/19/ouch-gout/
http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/slideshow-common-foot-problems
http://www.bpac.org.nz/magazine/2007/September/gout.asp?page=2
http://www.monastyr.info/wp-content/uploads/cc/Causes_of_gout2.jpg

Saksiri Sirikul Research