เรื่องสุขภาพ

ชนิดของโลหิต Blood Group


ตารางการรับได้ของเลือด ทั้งผู้ให้ และผู้รับ

ผู้ให้/ผู้รับ A B AB O
A 1 0 1 0
B 0 1 1 0
AB 0 0 1 0
O 1 1 1 1

ความหมาย

1 = ให้กันได้
0= ให้กันไม่ได้

ปกติเม็ดเลือดแดงจะแบ่ง ย่อยๆ ออกเป็นสองกล่มใหญ่ ๆ คือ

แบ่งตาม หมู่โลหิต

  • ระบบ ABO หมู่โลหิต พบว่าในประเทศไทยแบ่งได้ ดังนี้
    • O = 37.8%
    • B = 33.5%
    • A = 21.3%
    • AB = 7.4 %

ข้อมูล ปี พ.ศ. 2543

  • ระบบ Rh แบ่งออกได้ 2 หมู่ คือ
    • Rh บวก (Positive)คนไทยส่วนใหญ่มีหมู Rh บวก ประมาณ 99.7% ของหมูโลหิต เรียกว่า "หมู่โลหิต ธรรมดา"
    • Rh ลบ (Negative) พบว่าคนไทย มีเพียง 0.3% หรือ 1000 คน จะมีเพียง 3 คน เท่านั้น ซึ่งเรียกหมู่โลหิตนี้ว่า "หมูโลหิต หายาก"หรือ "หมูโลหิตพิเศษ"

ความสำคัญของหมู่โลหิต Rh ลบ (Negative)

  1. การรับโลหิต ของผู้ป่วยRh ลบ นั้นจำเป็นต้องรับการรักษาพยาบาลเหมือนกัน แต่ ถ้าจำเป็น ไม่สามารถจัดหาได้สามารถรับโลหิตบวก ได้แต่ เฉพาะครั้งแรกเท่านั้นเพราะผู้ป่วย จะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาหากรับ Rh บวก เข้าไปอีกก็จะก่อให้เกิดปฏิกริยาต่อต้าน คือ ภูมิต้านทาน ในร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นจะไปทำลายเม็ดเลือดแดงของ Rh บวก ทำให้ช็อคถึงชีวิต ได้
  2. กรณี มารดามีหมู่โลหิต Rh ลบ แต่บิดามีหมู่โลหิต Rh บวกลูกคนแรก จะมี Rh บวก เหมือนพ่อ แต่ มารดาจะสร้าง ภูมิต้านทานต่อเม็ดโลหิตของลูกในครรภ์ซึ่งท้องแรกส่วนใหญ่ จะปลอดภัย แต่ ครรภ์ถัดมา ถ้าเป็น Rhลบเหมือน แม่ก็จะไม่เป็นปัญหาแต่ถ้าเป็นRh บวกจะส่งผลให้ภูมิต้านทานที่แม่สร้าง ขึ้นมาในท้องแรกจะไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกในครรภ์ถัดมาทันทีจะทำให้ลูกในครรภ์ถัดมา จะมีตัวเหลือง ตาเหลืองหรืออาจตายในครรภ์มารดา ได้ ดังนั้นมารดาที่มีหมู่โลหิตRh ลบการตั้งครรภ์นั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมการป้องกัน ไม่ให้เกิดอันตรายแก่ลูกได้


ข้อมูล : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย.เกร็ดเล็กๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ โลหิตเรา ,บอร์ด นิทรรศการ.
picture1 : http://www.medindia.net/patients/patientinfo/bloodgroup.htm
picture2: http://commons.wikimedia.org/wiki/File:ABO_blood_group_diagram.svg
picture3: http://www.edward.org/AEImages/adam04/graphics/images/en/19789.jpg
picture4: http://www.edward.org/AEImages/adam04/graphics/images/en/19790.jpg

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนประกอบโลหิต
องค์ประกอบของเลือด หมู่เลือดและการแข็งตัวของเลือด


Saksiri Sirikul Research