เรื่องสุขภาพ

วัณโรค (Tuberculosis)

วัณโรค
วัณโรค เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายแต่ที่พบและเป็น ปัญหามากในปัจจุบันคือ"วัณโรคปอด" เพราะ เชื้อวัณโรคปอดสามารถแพร่กระจายและติดต่อได้ ง่ายโดยระบบทางเดินหายใจหากไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้องร่างกายจะทุดโทรมอย่างรวดเร็ว และ มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
 

จะทราบอย่างไร ว่าท่านหายจากวัณโรค?

เมื่อตรวจไม่พบเชื้อในเสมหะ ภายหลังกินยาครบตามกำหนด "วัณโรคไม่แพร่กระจาย ถ้าผู้ป่วยทุกรายมีคนดูแล"     วัณโรคปอด
อาการของโรค


ไอเรื้อรัง 3 สัปดาห์ขึ้นไป หรือไอมีเลือดออก


มีไข้ตอนบ่าย ๆ เหงื่อออกมากเวลากลางคืน



น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

เจ็บหน้าอก
เจ็บหน้าอก และเหนื่อยหอบกรณีที่โรคลุกลามไปมาก

การติดต่อ

การติดต่อ
ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อโรคจากการไอ จาม พูด ของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค

การป้องกัน


จะป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นวัณโรคได้อย่างไร
  1. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค
  3. ถ้ามีผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในบ้าน ควรเอาใจใส่ดูแลให้กินยาครบถ้วนสม่ำเสมอทุกวัน
  4. ควรตรวจร่างกาย โดยการเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละครั้งฃ
  5. พาบุตร หลาน ไปรับการฉีดวัคซีน บี ซี จี
  6. หากมีอาการผิดปกติ น่าสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ โดยการเอกซเรย์ปอด และตรวจเสมหะ

การรักษา

    ปัจจุบัน มียารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถรักษาให้หายได้ภายในเวลา 6 เดือน โดยกินยาทุกชนิดที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วนสม่ำเสมอทุกวัน ถ้ากินยาไม่ครบ หรือหยุดยาก่อนกำหนด อาจทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยา ยากต่อการรักษา และอาจรักษาไม่หายได้ หากมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขหรือคนในครอบครัวเดียวกันเฝ้าสังเกตการกินยาต่อหน้าทุก ครั้งจะมีผลดี คือ สามารถรักษาให้หายได้ตามกำหนด และหยุดยั้งการแพร่เชื้อได้เร็ว วิธีนี้เรียกว่า การรักษาด้วยระบบยาระยะสั้นแบบควบคุมหรือสังเกตโดนตรง

การปฏิบัติตนเมื่อป่วยเป็นวัณโรค

  1. ไปพบแพทย์ตามนัด และเก็บเสมหะส่งตรวจทุกครั้งตามแพทย์สั่ง
  2. กินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ผัก ผลไม้ เพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
  3. ปิดปาก จมูก เวลาไอหรือจามทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
  4. จัดบ้านให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  5. ให้บุคคลในบ้านไปรับการตรวจ ถ้าพบว่าป่วยเป็นวัณโรคแพทย์จะได้ให้การักษาทันที
  6. กินยาให้ครบถ้วนทุกชนิดตามที่แพทย์สั่ง และกินติดต่อกันสม่ำเสมอทุกวันจนครบตามกำหนด

สถานที่ให้บริการตรวจรักษาวัณโรค และฉีดวัคซีน บี ซี จี ในเขตกรุงเทพฯ

  •   ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร
  •   ฝ่ายวัณโรค กองควบคุมโรค ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
  •   โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง
  •   สถานตรวจโรคปอด กรุงเทพฯ
  •   สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  •   โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง


ข้อมูล กองควบคุมโรค ฝ่ายวัณโรค กทม.วัณโรค ปี 2543

Saksiri Sirikul Research