เรื่องสุขภาพ

เพื่อสุขภาพของมารดา หลังคลอด (Health for Pregantly women)

เพื่อสุขภาพของมารดาหลังคลอด
หลังคลอดแม่ควรเอาใจใส่สุขภาพของตนเองให้มากที่สุดเพราะการตั้งครรภ์และการคลอดลูกที่เพิ่งผ่านไปทำให้เสีย กำลังไปถ้าแม่ดูแลเอาใจใส่สุขภาพดีร่างกายแม่ก็จะกลับแข็งแรงดังเดิมและจะทำให้มีน้ำนมดีและพอเลี้ยงดูลูก
 

หลังคลอดแม่ควรปฏิบัติตนดังนี้

การพักผ่อน
1. การพักผ่อน พักผ่อนให้มากอย่างน้อย 2 สัปดาห์ กลางคืนควรได้นอน 6-8 ชั่วโมง หลังอาหารกลางวันควรได้นอนพัก 1/2-3 ชั่วโมง และภายใน 6สัปดาห์หลังคลอดห้ามทำงานหนักเช่น ยกของหรือแบกหามเพราะจะมีผลกระทบกระเทือนต่ออวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่นมดลูก
โจ๊ก

อาหาร
2. อาหาร ควรรับทานอาหารที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์ทุกชนิด เช่น เนื้อ นม ไข่ ผลไม้ และผักสด อาหารเหล่านี้จะช่วยให้มีน้ำนมที่มีคุณค่าพอเพียงสำหรับลูก และยังเสริมสร้างกำลังที่เสียไปในการคลอด
ไม่ควรรับทานอาหารรสจัด ของหมักดอง หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาดอง ควรดื่มน้ำมาก ๆ (ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน) ควรรับทานผัก และผลไม้สด จะช่วยไม่ให้ท้องผูก

3. การรักษาความสะอาดร่างกาย เมื่อช่วยตัวเองได้ภายหลังคลอด 12-24 ชั่วโมง อาบน้ำได้ แต่ไม่ควรอาบน้ำในอ่างน้ำ หรือแม่น้ำลำคลอง เพราะเชื้อโรคอาจเข้าไปภายในมดลูก นอกจากนี้ควรหมั่นเปลี่ยนเสื้อผ้า เนื่องจากระยะหลังคลอดแม่มักมีเหงื่อออกมากและมีน้ำนมไหลเปียกเสื้อ

4. น้ำคาวปลา คือสิ่งที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอด ใน 2-3 วันแรก จะมีสีแดง ต่อมาจะค่อย ๆ จางลง และหมดไปภายใน 2-3 สัปดาห์ ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งที่ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ และหมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าไปภายในมดลูก ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบ และติดเชื้อได้

การรักษาความสะอาด
การดูแลบริเวณฝีเย็บ (ภาพให้ดูแบบลาง ๆ)

5. การดูแลแผลบริเวณฝีเย็บ ควรทำความสะอาด เช้า - เย็น และทุกครั้งที่ถ่ายปัสสาวะ หรืออุจจาระ เมื่อใช้กระดาษชำระภายหลังถ่ายอุจจาระ ระวังอย่าเช็ดย้อนจากทวารหนักมายังฝีเย็บ เพราะในอุจจาระมีเชื้อโรคมาก จะทำให้ติดเชื้อได้ การดูแลบริเวณเต้านม


การดูแลเต้านม
6. การดูแลเต้านมและหัวนม ระหว่างที่ให้นมลูก แม่ควรสนใจความสะอาดของเต้านมและหัวนมให้มากเป็นพิเศษ โดยการทำความสะอาดทุกครั้งที่อาบน้ำและหลังจากให้นมลูก

ถ้ามีอาการนมคัด ควรแก้ไขโดยบีบน้ำนมออกเสียบ้าง และใช้น้ำเย็นประคบบริเวณเต้านม จะทำให้ลดอาการปวด การเกิดอาการนมคัดนี้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้เกิดเต้านมอักเสบได้ จึงควรรีบปรึกษาแพทย์

7. งดอยู่ร่วมกับสามี ควรเว้นอย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการฉีกขาดของช่องคลอด

8. การมีประจำเดือนใหม่ภายหลังคลอด ถ้าไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะมีประจำเดือนภายใน 5 - 6 สัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้าเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประจำเดือนจะมีช้ากว่านั้นหรือ ไม่มีในระหว่างนั้น แต่การตั้งครรภ์อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ยังไม่มีประจำเดือน

9. การตรวจหลังคลอด 1 เดือนหลังคลอดควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าอวัยวะต่าง ๆ เข้าสู่สภาพปกติหรือยัง (ถ้ามีสิ่งใดผิดปกติ จะได้มีโอกาสแก้ไข) พร้อมกับปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิดด้วย

10. อาการที่ถือว่าผิดปกติหลังคลอด มีดังนี้
  • มีไข้หลังคลอดหรือหนาวสั่น
  • น้ำคาวปลาผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็นเน่า น้ำคาวปลาไม่เดิน หรือออกเป็นเลือดสด ๆ เมื่อใกล้จะหมด
  • เต้านมบวม ช้ำ แดง อักเสบ และหัวนมแตกเป็นแผล
  • ปวดท้องน้อย ปัสสาวะบ่อยหรือขัดเบา

การบริหารร่างกายหลังคลอด

    แม่ควรหมั่นบริหารร่างกายเพื่อให้ร่างกายและทรวดทรงกลับสู่สภาพเดิมได้เร็วขึ้น ควรเริ่มบริหารตั้งแต่หลังคลอดได้ 1-2 วัน ด้วยท่าง่าย ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นวันละน้อยจนรู้สึกร่างกายเข็งแรงดี ท่าบริหารมีดังนี้

ท่าที่1
    ท่าที่ 1 นอนหงายในท่าตรงหายใจเข้าช้า ๆ พร้อมทั้งเบ่งท้องให้โป่ง นับ 1, 2, 3, แล้วลมหายใจออก ขณะเดียวกันแขม่วท้องลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ทำ10 ครั้ง)    


    ท่าที่ 2 นอนหงาย ยกศีรษะขึ้นจากพื้น พยายามให้คางจรดหน้าอกขณะที่ยกศีรษะขึ้นลำตัว แขน และขา ต้องเยียดตรง ท่านี้จะช่วยลดหน้าท้อง (ทำ 10 ครั้ง)    


    ท่าที่ 3 นอนหงาย กางแขนทั้งสองออกไปข้าง ๆ ลำตัวเยียดแขนให้ตรง แล้วยกแขนทั้งสองจนมือทั้งสองจรดกัน อย่า งอแขน พักสักครู่ แล้วลดแขนลงมาข้างลำตัว (ทำ 10 ครั้ง)    


    ท่าที่ 4 นอนหงายราบ แขนขนานลำตัว ค่อย ๆ ชันเข่าขึ้นในท่าเป็นมุมฉาก เข่าทั้งสองข้างชิดกัน เท้าห่างกันเล็กน้อย แอ่นก้นยกตัวขึ้น ไหล่ยันพื้นไว้ (ทำ 10 ครั้ง)    


    ท่าที่ 5 งอขาข้างหนึ่งขึ้นมาจนกระทั่งเท้าชิดก้นย้อย แล้วค่อย ๆ เหยียดเท้าตรงกลับไปสู่พื้นตามเดิม เปลี่ยนอีกข้างหนึ่ง ทำเช่นเดียวกัน สลับกันไป (ทำ 10 ครั้ง)    


    ท่าที่ 6 นอนหงายราบ ยกขาขึ้นให้ตั้งฉากกับลำตัว แล้วค่อย ๆ ลดขาวางกลับที่เดิม ทำสลับทีละข้าง (ทำ 10 ครั้ง) 


    ท่าที่ 7 นอนคว่ำ ยกก้นให้เข่าชิดกับหน้าอก เข่าห่างกัน ประมาณ 1 ฟุต พยายามอย่ายกหน้าอก พักอยู่ในท่านี้นาน 2 นาที 

    ท่าที่ 8 นอนคว่ำให้ตัวนอนราบกับพื้น ศีรษะไม่หนุนหมอน ให้น้ำหนักตัวตกอยู่ที่หน้าท้อง โดยใช้หมอนหนุนหน้าท้อง ทำนาน 1/2 ชั่วโมง ท่านี้จะได้หลับพักผ่อนไปในตัว    

 


ข้อมูลจาก กองสาธารณสุข สำนักงานอนามัย กรุงเทพมหานคร :มกราคม 2540.

 

Saksiri Sirikul Research