เรื่องสุขภาพ

วัยสูงอายุวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

วัยสูงอายุ

ผู้ที่ก้าวเข้าสู่วัยนี้ ควรคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่า ตนเองจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน ได้แก่

  • การที่ต้องออกจากงานประจำ
  • การที่แปลี่ยนแปลงในสภาวะการเงิน
  • การที่ลูก ๆ จากไปมีครอบครัวใหม่
  • การตายจากของคุ่สมรส
  • การเปลี่ยนสภาพ จาก พ่อ - แม่ ไปเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งถ้า สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ ชีวิต ก็จะดำเนินไปอย่างมีความสุข

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง

ด้านร่างกาย ความสามารถในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะเสื่อมลง ทำให้เกิดสภาพของความชรา ปรากฏขึ้น เช่น หมหงอก ผิวหนังเหี่ยวย่น ฟันหัก หูตึง ตามองเห็นไม่ชัด เป็นต้น

ด้านอารมณ์ และจิตใจ ความสามารถในการเรียนรู้และความจำลดลงความจำในเรื่องปัจจุบันจะเสื่อมมาก แต่จะจำเรื่องในอดีตได้ดี อารมณ์ มักจะหงุดหงิด ซึมเศร้า ใจน้อย มีความรู้สึก ว้าเหว่ และวิตกกังวล ได้ง่าย

ด้านสังคม เนื่องมาจากความเสื่อมทางร่างกาย และจิตใจ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามต้องการได้จึงเกิดความรู้สึกว่า ตนเองได้ความสามารถ คุณค่าของตนเองลดลง บทบาท ในสังคมจึงแคบลง เหลือเฉพาะบุคคลที่ใกล้ชิดเท่านั้น

ผู้สูงอายุ ควรปฏิบัติตนดังนี้

ทางด้านร่างกาย

  • รับทานอาการที่เป้ฯประโยชน์ ย่อยง่าย และมีปริมาณพอสมควร โปรตีนจากเนื้อสัตว์เป็นประเภทปลา และไก่
  • ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละคน
  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ และ อยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • บำรุงรักษาสุขภาพฟัน เพื่อให้สามารถเคี้ยว อาหารได้ดี จะเป็นปัจจัย สำครญที่ทำให้ร่างกาย และ การขับถ่ายเป็นปกติ
  • งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และสิ่งเสพติดทั้งหลาย
  • ตรวจสุขภาพประจำปี และถ้าพบว่ามีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ควรสนใจ รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

ทางด้านจิตใจ และสังคม

  • ให้ความรักใคร่ เอาใจใส่ต่อกันในระหว่างสมาชิกของครอบครัว
  • พยายามรักษาอารมณ์ให้ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ จะทำให้ลูกหลานอยากเข้าใกล้
  • สนใจสิ่งแวดล้อม หาความรู้ด้วยการฟังวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ เพื่อที่จะพูดคุยกับผู้อื่นได้ และเป็นการบริหารสมองให้เสื่อมช้าลง
  • ทำตนให้เป็นประโยชน์ตามสภาพที่สามารถทำได้ เช่น ช่วยดูแลบ้าน เป็นต้น
  • ทำงานอดิเรก เพื่อให้เพลิดเพลิน และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ด้วย เช่น ปลูกต้นไม้ ทำสวนครัว สานตะกร้า งานช่างไม้หรืองานฝีมือเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นต้น
  • สนใจฟังธรรมะ และฝึกปฏิบัติเพื่อความสุข สงบ ในชีวิตบั้นปลาย
  • ควรเข้ากลุ่มสังสรรค์ ระหว่างเพื่อนบ้าน ชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้มีกิจกรรมตามความสามารถ

ลำดวน ได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงวัย

ดอกลำดวน

ต้นลำดวน เป็นไม้ดอกยืนยันต้นอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดีดุจดังผู้สงอายุ เป็นที่พึ่ง ให้ความร่มเย็นแก่ลูกหลานเสมอ
ดอกลำดวน สีนวล กลิ่นหอม กลีบแข็ง ไม่ร่วงง่ายราวกับผู้ที่ทรงวัยวุฒิคงคุณธรรมความดีงามไว้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานตลอดไป
เมื่อผู้สูงอายุพบว่า ตนเองมีปัญหาด้านสุขภาพกายหรือ สุขภาพจิตต้องการคำแนะนำเพื่อแก้ไข โปรดปรึกษาได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

ข้อมูล: สำนักงานอนามัย .อยู่อย่างมีความสุข ในวัย...สูงอายุ.บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด. พิมพ์ครั้งที่1 :สิงหาคม พ.ศ. 2540.


Saksiri Sirikul Research