เรื่องสุขภาพ

สิ่งแวดล้อมดีด้วยฝีมือเรา

คน มีกิจกรรมที่ทำลายสภาพแวดล้อมให้เสื่อมโทรมได้หลายอย่าง เช่น การหุงหประกอบกาหาร, การใช้รถยนต์พาหนะ, การทิ้งขยะและของเหลือ ใช้ รวมถึงการใช้สารเคมีชนิดต่าง ๆ
ทุกครั้งที่คุณประกอบอาหารย่อมทำให้เกิดเศษสิ่งเหลือใช้ และ สิ่งเจอปนเปื้อนในน้ำทิ้งมากมาย น้ำมันหรือไขมันที่ใข้ประกอบอาหาร และเศษอาหารคือตัวการสำคัญของปัญหา ท่อน้ำทิ้งอุดตัน

ยานพาหนะที่คุณใช้ ไม่ว่ารถจักยานยตน์ รถเก๋ง หรือรถบรรทุก ล้วนเป็นแหล่งก่อมลพิษได้ทั้งสิ้น ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอจากผู้เป็นเจ้าของ หรือแม้แต่การใช้สารเคมีบางชนิด เช่น สารเคมีบรรจุ กระป๋องที่ใช้กำจัดยุงมด แมลงทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้คุณมี การดูแล และกำจัดอย่างถูกต้องหรือเปล่า
ถึงเวลาแล้วที่กรุงเทพมหานครต้องได้รับการแก้ไขและป้องกันเพื่อ เรียกคืนสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับพวกเราทุกคน และคุณก็มีส่วนช่วยดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมได้ ด้วยการร่วมมือ... ปฏิบัติตั้งแต่วันนี้

ถ้าคุณเป็นเจ้าของหรือผู้ใช้รถยนต์ คุณก็เป็นคนหนึ่งที่มีส่วนช่วยลดมลพิษทางอากาศได้


ถ้าคุณใช้รถจักยานยนต์
  • เลือกใช้นำมันไร้สารตะกั่ว
  • ใช้นำมันหล่อลื่นชนิดลดควันขาวที่ได้มาตรฐาน และ ไม่เติมนำมันหล่อลื่นในถังน้ำมันเชื้อเพลิง
  • หมั่นตรวจสอบ และบำรุงรักษาเครื่องยนต์ตามคำแนะนำของผู้ผลิตอยู่เสมอ
  • เลือกใช้มอเตอร์ไซค์ ชนิด 4 จังหวะ แทนชนิด 2 จังหวะ
ถ้าเป็นรถเก๋งส่วนบุคคล
  • เลือกใช้นำมันไร้สารตะกั่ว
  • เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา
  • หมั่นตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ตามกำหนดเวลา
  • หมั่นตรวจสอบ หม้อกรองอากาศ หัวเทียน อุปกรณ์จ่ายน้ำมัน
หรือใช้รถปิคอัพ และ รถบรรทุก
  • ใช้นำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำ
  • ไม่บรรทุกหนักเกินกำลังรถ
  • ตรวจสภาพเครื่องยนสม่ำเสมอ
  • การบรรทุกดิน หิน ทราย ต้องใช้ผ้าคลุมมิดชิดป้องกันการฟุ้งกระจาย
  • ทำความสะอาดล้อรถก่อนออกวิ่งบนถนน

น้ำเสียจากครัว

สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสียนั้นมีส่วนหนึ่งมาจากการล้างภาชนะที่มีเศษอาหารซึ่งมีน้ำมันเจือปนอยู่และอาจทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน
  • ควรรวบรวมเศษอาหาร แยกไว้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง
  • แยกไขมัน และ น้ำมันใส่ภาชนะหรือถุงดำ ไม่ทิ้งรวมไปกับน้ำล้างภาชนะ
  • อาจติดตั้งอุปกรณ์ดักไขมันกับท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างจาน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยแยกไขมันออกจากน้ำได้ง่ายขึ้น ก่อนปล่อยน้ำออกสู่ท่อสาธารณะ

 


ขยะมีหลายประเภท การทิ้งหรือกำจัดควรทำให้เหมาะสม
  • แยกชนิดของขยะมูลฝอย ทิ้งลงตามประเภทของขยะ เช่น ขยะเปียกทิ้งลงถังสีเขียว ขยะแห้งทิ้งลงถังสีเหลือง และขยะอันตราย ทิ้งลงถังสีเทาแดง เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการกำจัด
  • ขยะแห้ง ยังมีสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่นแก้ว โลหะ กระดาษ พลาสติก สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก (Recycle) เป็นการลดปริมาณขยะ และสงวนทรัยพากรธรรมชาติได้
  • ขยะอันตราย เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจขุสารฆ่าแมลง สีทินเนอร์ ยาและเครื่องสำอางค์ที่หมด อายุ ควรแยกกำจัดให้เหมาะสม
  • การเผาขยะ เป็นการเพิ่มมลพิษอากาศ และกระจายฝุ่นละออง จึงต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด

รู้จักเลือกซื้อสินค้า


สินค้าที่เป็นอันตราย ควรซื้อแค่พอใช้และใช้ให้หมดทุกครั้ง เพื่อลดการทำลายหรือการเหลือทิ้ง เช่น สารฆ่าแมลง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารคลอโรฟูลออโรคาร์บอน หรือซีเอฟซี (CFC) เช่น โฟม กระป๋องสเปรย์ สารทำความเย็นในตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศซึ่งมีผลทำให้ชั้นโอโซนในเบาบาง และไม่ซื้ออาหารที่บรรจุในกล่องโฟม
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ถ้วยหรือจานกระดาษ โดยเลือกใช้ภาชนะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
  • ควรใช้ตะกร้าจ่ายตลาด หรือถุงผ้าแทน การใช้ถุงพลาสติก หลาย ๆ ถุง เป็นการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก และปริมาณขยะ
สร้างสวนเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ช่วยกันปลูกและบำรุงต้นไม้ในบ้าน เพราะนอกจากต้นไม้จะช่วยดูดชับความชุ่มชื้นแก่ผิวดิน และ ช่วยลดมลพิษทางอากาศ แล้วยังเพิ่มความ ร่มรื่น สวยงาม และอากาศบริสุทธิ์ให้กับสมาชิกในบ้านด้วย

พื้นที่สีเขียว

ข้อมูลจาก ฝ่ายสุขาภิบาล สำนักงานอนามัย.สิ่งแวดล้อมที่ดี ด้วยฝีมือเรา; (แผ่นพับ) 14 พฤศจิกายน 2541
 

Saksiri Sirikul Research