เรื่องสุขภาพ

สีผสมอาหาร

สีผสมอาหาร
สีผสมอาหารภัยใกล้ตัว ... ที่มากับความสวยงาม
ในปัจจุบันจะพบลว่าทั้งอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ขายอยู่ทั่วไป มักมีสีสันสดใสสวยงาม ชวนรับทาน แต่แฝงไว้ด้วยอันตรายเนื่องจากผู้ผลิตมัก ใส่สีสังเคราะห์ทางเคมีลงไปโดยคาดหวังว่า อาหารและเครื่องดื่มที่มีสีสด ใสสวยงามจะเป็นที่ ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี โดยเฉพาะเด็ก ๆ ซึ่งจะช่วยให้ขายดี ได้กำไรมาก ทำให้มองข้ามพิษภัย ที่อาจจะเกิดขึ้นไป ดังนั้นในการเลือก ซื้ออาหารและเครื่องดื่มจำเป็น ต้องคำนึงถึงอันตราย ที่อาจเกิดจากสีผสม อาหารให้มาก ๆ และควรเลือกที่ปลอดภัยให้มากที่สุด
 
สีผสมอาหารมีกี่ประเภท
ตามกฏหมายได้กำหนดสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมอาหารได้ 3 ประเภท คือ
  • สีอินทรย์ ที่ได้จากการสังเคราะห์ ได้แก่ สีผสมอาหาร
  • สีอนินทรีย์ เป็นสีที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิตในธรรมชาติ เช่นผงถ่านที่ได้จากการเผากาบมะพร้าว เกลือ ทองแดง เป็นต้น
  • สีธรรมชาติได้จากการสกัดพืช สัตว์ เช่น
    • สีเขียว..........จากใบเตย
    • สีแดง...........จากครั่ง กระเจี๊ยบ มะเขือเทศ พริกแดง
    • สีเหลือง........จากขมิ้นไข่แดง ฟักทอง
    • สีน้ำเงิน........จากดอกอัญชัน เป็นต้น

อันตรายจากสีผสมอาหาร
อันตรายส่วนใหญ่เกิดจากสีสังเคราะห์ทางเคมีซึ่งผู้ผลิตบางคนมักใช้สีย้อมผ้า หรือสีย้อมกระดาษ ซึ่งมีโลหะหนักพวก ตะกั่ว ปรอท สารหนู สังกะสี โครเมี่ยม ปะปนอยู่ซึ่งทำให้เกิดผลต่อร่างกาย ดังนี้
  • ตะกั่ว: ระยะแรก จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลี่ยเบื่ออาหารปวดศีรษะ โลหิตจาง ถ้าสะสมมากขึ้นจะมีอัมพาต ที่แขน ขา เพ้อ ชักกระตุก หมดสติ
  • ปรอท: กรณีเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ ท้องเดิน ปวดมวนท้องรุนแรง ถ้าสะสมเรื้อรัง เหงือกจะบวมแดงคล้ำ ฝันตาย เบื่ออาหาร อ่อนเพลี่ย
  • สารหนู: จะเกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้ผิดปกติ ตับอักเสบ หัวใจวาย
  • โครเมี่ยม:ถ้าสะสมในร่างกายเกินขนาดจะเกิดอาการเวียนศีรษะ กระหายน้ำรุ่นแรงอาเจียน หมดสติ และ เสียชีวิต เนื่องจากไตไม่ทำงาน ปัสสาวะเป็นพิษ
อาหารที่ห้ามใส่สี

อาหารที่ห้ามใส่สี
อาหารที่ห้ามใส่สีผสมอาหารทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสีจากธรรมชาติ หรือสีสังเคราะห์ มี 14 ชนิด คือ
  •  อาหารทารก
  •  ทอดมัน
  •  กะปิ
  •  ข้าวเกรียบ
  •  แหนม 
  •  ไส้กรอก
  •  ลูกชิ้น หมูยอ นมดัดแปลงสำหรับเด็ก
  •  อาหารเสริมสำหรับเด็ก
  •  ผลไม้สด ผลไม้ดอง 
  •  ผักดอง ชนิดที่ปรุงแต่งทำให้เค็มหรือหวาน
  •  เนื้อสัตว์ทุกชนิด ที่ปรุงแต่ง รมควัน ทำให้แห้ง
  •  เนื้อสัตว์สดทุกชนิด ยกเว้น ไก่
  •  เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงแต่งทำให้เค็มหรือหวาน
อันตรายจากสีผสมอาหาร

ด้านผู้ผลิต
  • ใช้สีจากธรรมชาติใส่ในอาหาร
  • ใช้สังเคราะห์ทางเคมีเฉพาะ "สีผสมอาหาร" เท่านั้น โดยใช้ในปริมาณที่กำหนด คือ 1 มิลลิกรัม ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม
  • ในการเลือกซื้อสีผสมอาหาร ต้องสังเกตุข้อความบนฉลากดังนี้
  • มีคำว่า " สีผสมอาหาร"
  • ชื่อสามัญของสี
  • เลขทะเบียนอาหารของสีในเครื่องหมาย  อย.
  • ปริมาณสุทธิ
  • ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต
เครื่องหมาย อย.

ด้านผู้บริโภค
  • เลือกซื้ออาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่ใส่สี ถ้ามีสีควรเป็นสีอื่นอ่อน ๆ หรือ สีธรรมชาติ
  • ถ้าซื้อขนม อาหาร หรือเครื่องดื่มใส่สีที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท ต้องมีเลขทะเบียนตำรับอาหาร หรือ เลขที่ อนุญาตฉลากอาหาร

บริโภคอาหาร และเครื่องดื่มไม่ใส่สีเป็นผลดีต่อสุขภาพ

ข้อมูล สำนักงานอนามัย.สีผสมอาหาร ภัยใกล้ตัวที่มากับความสวยงาม.บริษัทเซเว่นพริ้นติ้ง จำกัด.
พิมพ์ครั้งที่1 :กันยายน พ.ศ. 2537.
ข้อมูลเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2540

Saksiri Sirikul Research