เรื่องสุขภาพ

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

เยื่อบุโพรงมดลูกเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

 

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือ โรค เอ็นโดเมททริโอซิส

หมายถึง ภาวะที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกภายนอกมดลูก ซึ่งส่วนมากจะพบบริเวณอุ้งเชิงกราน
มี 2 ชนิด คือ
  1. ชนิดที่พบภายนอกมดลูก (Endometriosis Externa) เป็นชนิดที่พบได้บ่อย มักพบพยาธิสภาพบริเวณอุ้งเชิงกราน รวมถึงรังไข่ ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุช่องท้อง นอกจากนี้ยังพบได้ที่ ท่อไต ปอด และบริเวณผิวหนัง หรือ แผลผ่าตัด
  2. ชนิดที่พบในกล้ามเนื้อมดลูก (Endometriosis Interna)  เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปแทรกอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูกทำให้มีอาการปวดประจำเดือน และทำให้มดลูกโตขึ้นได้

อาการ

  • ปวดประจำเดือนโดยเฉพาะสตรีที่ไม่เคยปวดประจำเดือนมาก่อน แล้วเริ่มมีอาการหรือมีปวดประจำเดือนมากขึ้นกว่าเดิม (Progressive Dysmenorthea)
  • ปวดขณะทีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia)
  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic Pelvic Pain) ซึ่งจะต้องตรวจวินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานหรือโรคเกี่ยวกับลำไส้และระบบทางเดินอาหารก่อน
  • มีบุตรยาก
  • คลำก้อนได้ที่ทองน้อย หรือมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดอาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของโรค เช่น ไอเป็นเลือด ในช่วงมีประจำเดือน หรือมีกล้อนเจ็บบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งพบได้น้อยมาก
  • ไม่มีอาการผิดปกติ

การตรวจวินิจฉัย

  • ตรวจร่างกายและตรวจภายใน
  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การตรวจเลือด (CA 125)
  • การตรวจส่องกล้องผ่านหน้าท้องเพื่อดูพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน (Laparoscopy) และตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา พยาธิสภาพของเอ็นโดเมททริโอซิส จากการผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง จะสามารถแบ่งชนิดได้ดังนี้
    • เป็นจุดสีน้ำเงินข้ม จุดเลือดออก หรือถึงน้ำเล็ก ๆ ที่เยื่อบุช่องท้อง
    • เป็นถงซีสต์ของรังไข่ หรือที่เรียกว่า "Chocolate Cyst"
    • เป็นก้อนเนื้อแข็ง ซึ่งมักจะพบบริเวณเอ็นที่ยืดมดลูกทางด้านหลัง
นอกจากนี้ยังสามารถพบร่วมกับพังผืดในอุ้งเชิงกราน

การรักษา

  1. การรักษาโดยการใช้ยาฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิด
  2. การใช้ยาในกลุ่ม GnRH Agonist, GnRH Antagonist, Aromatase Inhibitor
  3. การรักษาร่วมกัน ทั้งการผ่าตัด และการใช้ยา

ในการรักษาผู้ป่วยโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ยังมีข้อถกเถียงบางประการในการรักษา นอกจากนี้ยังต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงลักษณะการดำเนินโรค ซึ่งอาจสามารถกลัมาเป็นใหม่หลังได้รับการรักษาได้ สาเหตุของโรคที่แท้จริงยังไม่สามารถสรุปได้แต่มีความพยายามที่จะหาทฤษฎีการเกิดของโรคนี้อยู่

สัญญานเตือน

ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ เมื่อท่านมีอาการดังต่อไปนี้
  1. ปวดประจำเดือนเพิ่มขึ้นทุกเดือน
  2. ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  3. ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
  4. มีบุตรยาก
  5. มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
 
ข้อมูล : ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลบีเอ็นเอช BNH Hospital โทร.026862700
ข้อมูลวันที่ 17 มกราคม 2551
picture from :
- http://www.clarian.org/ADAM/doc/In-DepthReports/10/000100.htm
- http://www.allegromedical.com/dietary-supplements-c522/aromatase-inhibitor-90-capsules-p215755.html
- http://guru.sanook.com/answer/question/ยาคุมกำเนิดทานอย่างไร/

 

Saksiri Sirikul Research