เรื่องสุขภาพ

หัดเยอรมัน โรคเหือด (German Measles / Rubella)


    โรคหัดเยอรมันหรือเรียนกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคเหือดเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Rubella virus มีระยะฟักตัวของโรค 12-28 วัน (เฉลี่ย 2 สัปดาห์) เป็นโรคที่มักพบในเด็กวัยเข้าเรียน วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว

Rubella virus - Wikipedia
Rubella virus - Wikipedia

    ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ และ ออกผื่นคล้ายหัด แต่มีความรุนแรงกว่า และโรคแทรกน้อยกว่าหัด เนื่องจากแพทย์ชายเยอรมัน เป็นผู้อธิบายว่าโรคนี้ เป็นโรคใหม่ที่ต่างจากหัดเป็นคนแรก โดยทั่วไปจึงเรียกโรคนี้ว่า หัดเยอรมัน ส่วนในบ้านเรา มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าเหือด

อาการ

  1. มีอาการคล้ายเป็นหวัด อ่อนเพลียปวดศีรษะ เจ็บคอ เยื่อตาอักเสบ แฉะเหมือนเป็นหัด จะมีไข้ต่ำ ๆ ไม่รุนแรง หรืออาจไม่ปรากฏอาการไข้เลยโดยเฉพาะในเด็ก
  2. คลำพบต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณหลังหู และคอ (เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนที่นี่)
  3. ต่อมา 1-5 วัน จะเริ่มมีผื่นเป็นเม็ดละเอียดสีแดง มักเริ่มขึ้นที่หน้า คอ แขน ขา และกระจายทั่วตัว บางคนอาจ มีอาการคันด้วย ผื่นนี้จะหายไปได้เอง ใน 3-4 วัน บางครั้งจึงเรียกว่า ไข้หัด 3 วัน
  4. ในผู้ป่วยที่เป็นหญิงสาว อาจพบอาการปวดข้อ และ ข้ออักเสบด้วย

การติดต่อของโรค

  • ติดต่อทางระบบหายใจ เชื้อไวรัส ของหัดเยอรมันจะปะปนอยู่ในมูก น้ำลาย ละอองเสมหะ ของผู้ที่เป็นโรคนี้
  • เชื้อไวรัส จะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยในระยะ 1 สัปดาห์ ก่อนและหลังมีผื่นขึ้น
  • อาจพบเชื้อในเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ ได้อีกด้วย

อันตรายของหัดเยอรมัน

  1. ในหญิงมีครรภ์ ระยะ 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ถ้ามารดาได้รับเชื้อนี้ เชื้อไวรัสจะผ่านจากมารดาไปสู่ทารก ทางสายสะดือทำให้แท้งหรือเด็กในครรภ์ที่จะคลอดออกมาจะมีความพิการแต่กำหนิดได้ เช่น ตาเป็นต้อกระจก ต้อหิน สมองเล็ก หัวใจพิการแต่กำเหนิด ตับและม้ามโต หูหนวก ปัญญาอ่อน น้ำหนักตัวน้อย
  2. สมองอักเสบ ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนที่พบได้
  3. ข้ออักเสบ ปวดข้อ มักพบในข้อใหญ่ ๆ เช่น ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อไหล่ อาจใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหาย

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นหัดเยอรมัน

  1. ระยะมีไข้และออกผื่นต้องแยกของใช้ทุกนิด ไม่ใช้ของปะปนกับผู้อื่น รวมทั้งการรับประทานอาหารและการนอน ก็ควรแยกจากคนอื่น ๆ ถ้าคันบริเวณผื่นให้ใช้ยาฝาดสมานทา เช่น คาลาไมน์โลชั่น
  2. ดื่มน้ำมาก ๆ และรับทานอาหารอ่อนย่อยง่าย ผลไม้ มาก ๆ
  3. ควรนอนพักอยู่กบบ้าน เพื่อป้องการการแพร่กระจายของเชื้อโรค เด็กไม่ควรไปโรงเรียน
  4. ถ้าไข้สูงมาก ไม่ลด อาจมีข้อและสมองอักเสบ ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว

การป้องกัน

  1. สตรีวัยรุ่นขึ้นไปควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันก่อนแต่งงาน
  2. ฉีดวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน (ในเข็มเดียวกัน) ให้เด็กอายุ 15 เดือนขึ้นไป
  3. หญิงหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้
  4. เชื่อว่าคนที่เคยเป็นโรคนี้แล้วจะมีภูมคุ้มกันได้ตลอดชีวิต

ข้อจำกัดในการให้วัคซีน

  1. ในหญิงมีครรภ์หามฉีดวัคซีนนี้
  2. หญิงที่ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันแล้ว จะต้องคุมกำเหนิดไว้ 3-6 เดือน (มีภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 8-10 ปี) หญิงมีครรภ์ถ้าไปสัมผัสกับเด็กที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันมันจะไม่มีอันตรายใด ๆ
  3. การให้วัคซีนหลังจากสัมผัสโรคแล้วไม่สามารถป้องกันโรคได้



ข้อมูลจาก นายแพทย์สมเกียรติ อาชานานุภาพ .ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป
picture from : http://www.swissinfo.org/eng/front/detail/Swiss_need_booster_to_meet_measles_target.html?siteSect=105&sid=8010713&cKey=1184096521000
wikipedia

Saksiri Sirikul Research