เรื่องสุขภาพ

โรคตาแดง (Epidemic Kerato Conjunctivitis)

ตาแดง

เป็นโรคติดต่อที่ระบาดง่าย เกิดจากการอักเสบของเยื้อบุตาจากการติดเชื้อไวรัสอาคิโนไวรัส ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสต้ำตาของผู้ป่วยไม่ติดต่อกันทางสบสายตาหรือทานอาหารร่วมกัน มักเกิดในที่มีคนอยู่รวมกันมาก ๆ เช่นโรงเรียน โรงงาน ชุมชนแออัด เป็นต้น มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน ระยะเวลาของโรค 5-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น
 
อาการ
อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล เจ็บตา มักมีขี้ตามาร่วมด้วย ต่อมน้ำเหลือง หน้าหูมักเจ็บและบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน และจะติดต่อมายังอีกข้างได้ ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตาข้างที่ติดเชื้อไวรัสมาถูกตาอีกข้างที่ดี ก็จะช่วยป้องกันตาข้างที่ยังไม่มีอาการได้

 

ช่วงที่มักเป็นและโรคแทรกซ้อน

ส่วนใหญ่ในช่วงฤดูฝนมักจะพบผู้ติดเชื้อตาแดง ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนใด ๆ จะเป็นประมาณ 5-14 วัน ก็จะหาย แต่มามีโรคแทรกซ้อน เช่น มีอาการเคืองตา ลืมตาไม่ค่อยได้ จะมีกระจกตาอักเสบแทรกซ้อน แล้วจะค่อย ๆ หายไปเองประมาณ 3 สัปดาห์ หรือ อาจจะเป็น  ถึง  1-2 เดือน แล้วแต่บางราย จะทำให้ตาพร่ามัว เป็นเวลานาน

 

การป้องกัน
  1. แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ให้ผู้อื่นมาใช้ร่วม และหมั่นล้างมือฟอกสบู่บ่อย ๆ
  2. พักผ่อนอยู่กับบ้าน ไม่ควรใช้สายตามากถ้าไม่จำเป็น เด็กที่เป็นโรคตาแดง ไม่ควรให้ไปโรงเรียนเพราะจะนำโรคไปติดต่อเพื่อนได้ ผู้ใหญ่ควรหยุดพักผ่อนอยู่กับบ้านจนกว่าจะหายตาแดง
  3. ประคบตาด้วยผ้าเย็น เช็ดน้ำด้วยสำลีสะอาด ชุบน้ำต้มสุกจะช่วยให้รู้สึกสบายตามากขึ้น
  4. ถ้ามีฝุ่นละอองเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที
  5. อย่าปล่อยให้แมลงหวี หรือแมลงวันตอมตา
การรักษา
รักษาตามอาการของโรคเนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง ถ้ามีขี้ตามากควรหยอดยาปฏิชีวนะ มีไข้เจ็บคอ ก็ใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วยกับยาลดไข้ ยาลดปวด และพยายามพักผ่อนให้มาก โดยเฉพาะการใช้สายตาในช่วงที่มีอาการตาแดงอย่างรุนแรง ไม่ควรนอนดึก ควรนอนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอดเวลา ไม่ควรให้เชื้อไวรัสแพร่กระจาย ควรงดการใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน ทุกครั้งที่จบตาควรล้างมือให้สะอาด ผู้ป่วยไม่ควรเล่นน้ำในสระเพราะจะแพร่กระจายไวรัสไปในน้ำได้

 
ข้อมูลจาก
โรงพยาบาล เปาโล เมโมเรียล โทร. 022797000 (21 ตุลาคม 2551)
โรงพยาบาล นนท์เวช แผนกแพทย์จักษุ 025967888 ต่อ 2329,2330
picture from http://jaapa.com/issues/j20060301/articles/redeye0306.htm

*เนื่องจากเป็นแผ่นพับข้อมูลอาจจะคล้าย ๆ กันในหลาย ๆ โรงพยาบาล*
 

Saksiri Sirikul Research