เรื่องสุขภาพ

สุขภาพสำหรับผู้หญิง วัย 40 ปีขึ้นไป

สุขภาพผู้หญิง วัย 40 ปีขึ้นไป
วิตามินและสารอาหาร สำหรับดูแลสุขภาพผู้หญิงวัย 40  ปีขึ้นไป

ถ้าผู้หญิงเรามีสุขภาพดีทั้งกายและใจ จะเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความแข็งแกร่งในการทำหน้าที่ตามบทบาทต่าง ๆ ที่มีในชีวิตประจำวัน และในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความสุขกับผู้คนรอบตัว โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทำงาน มีภาระความรับผิดชอบด้านการงานและครอบครัวเพิ่มมากขึ้นก่อให้เกิดความเครียดการพักผ่อนน้อยและไม่มีเวลาดูแลตัวเอง

ผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีภาวะขาดฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลกระทบต่อสมอง จิตใจ อารมณ์ มีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต อาการต่าง ๆ ที่จะสังเกตทราบได้มี

1 ประจำเดือนไม่แน่นอน บางทีมาถี่ ๆ บางทีก็ทิ้งช่วงหลายเดือนสลับกับการมาสม่ำเสมออยู่ระยะหนึ่ง บางคนจะมีเลือดประจำเดือนออกแบบแปลก ๆ เช่น เลือดประจำเดือนมากกว่าปกติหรือมาทุก 2-3 สัปดาห์

2 อาการร้อนวูบวาบ ราว ๆ 3 ใน 4 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีอาการดังนี้ อาการร้อนวูบวาบจะรำคาญมากที่สุดใน 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด โดยมีความรุนแรงและความถี่ หรือระยะเวลาเป็นสั้นยาว ต่าง ๆ กันไป ในผู้หญิงแต่ละคน แต่โดยมากจะบรรเทาเบาบาลงใน 1-2 ปี

3 อาการนอนไม่หลับ ไม่ว่าจะเป็นความลำบากในการหลับหรือตื่นบ่อย ๆ กลางดึก หรือตื่นเช้ากว่าปกติ

4 อารมณ์แปรปรวน เกิดอาการซึมเศร้า หรือหงุดหงิด

5 ปัญหาของช่องคลอด ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อของผนังช่องคลอดบางลง ความยืดหยุ่น และความหล่อลื่นลดลง ทำให้การร่วมเพศไม่สะดวกราบรื่น

6 การเจริญพันธุ์น้อยลง เนื่องจากการตกไข่ไม่แน่นอนทำให้โอกาสตั้งครรภ์ลดลง แต่ก็อาจตั้งท้องได้ทุกเมื่อ จนกว่าประจำเดือนหยุดมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม

7 การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง ความเต่งตึงและความชุ่มชื้นของผิวหนัง มีผลจากการที่ร่างกาย สร้างสารคอลลาเจน เมื่อฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนลดลง การผลิตสารคอลลาเจนก็จะลดลงด้วย ผิวหนังของหญิงวัยหมดประจำเดือน จะเริ่มบางลง มีความยืดหยุ่นลดลง แห้ง และเหยี่ยวย่นง่ายขึ้น
 

อะไรจะเกิดขึ้นหลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน?

นอกจากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวถึงแล้ว ผลระยะยาวที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะเมื่อประจำเดือนหยุดมาอีกหลายอย่าง แต่ละอย่างล้วนมีผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ เช่น



ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)
ซึ่งเป็นโรคของกระดูกที่เกิดจากกระดูกบอบบางลง มีรูพรุนมากขึ้น เพราะฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนทดแทนกระดูกเก่าที่สลายไป โดยกระบวนการดังกล่าวจะถึงจุดสูงสุด เมื่อผู้หญิงมีอายุ 25-30 ปี เมื่อระดับเอสโตรเจนเริ่มลดลง ร่างกายสูญเสียกระดูกเร็วขึ้นกว่าการสร้างชดเชย อันตรายที่ตามมาคือ เวลาหกล้มจะพบว่า กระดูกหักง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก



โรคหัวใจขาดเลือด
วงการแพทย์พบว่า เอสโตรเจนช่วยปกป้อง คุ้มครองไม่ให้ผู้หญิงเป็นโรคหัวใจ โดยช่วยเพิ่มระดับของไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และช่วยลดไขมันชนิดเลว (LDL) นอกจากนี้ยังทำให้เส้นเลือดแดงมีความยืดหยุ่น ทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะกลุ่มกัน เสริมความแข็งแรงของหัวใจ เมื่อให้เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเสริมแก่หญิงวัยหมดประจำเดือนทุกราย กลับปรากฏว่าผู้หญิงบางคน เมื่อได้เอสโตรเจนแล้ว เลือดในเส้นเลือดดำคั่งแข็งตัวง่ายขึ้น ดังนั้นการตัดสินใจจะใช้ฮอร์โมนเสริมหรือไม่อย่างไร จึงต้องให้แพทย์พิจารณาตัดสินใจร่วมกับท่าน



ปัญหาทางเดินปัสสาวะ
ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อบุท่อปัสสาวะบางลง และความแข็งแรงของกระเพาะปัสสาวะลดลง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือทางเดินปัสสาวะติดเชื้อได้ง่าย


น้ำหนักขึ้น อัตราการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายหญิงวัยหมดประจำเดือนจะลดลง ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว (อ้วนแบบลงพุง)
 

ผลกระทบในระยะยาวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในผู้หญิงสูงวัย 40 ปีขึ้นไป

ข้อมูลของโรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่พบบ่อยในผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไปจำนวน 10 อันดับแรก ได้แก่
  1. ไขมันในเส้นเลือดสูง (ร้อยละ 79)
  2. กลุ่มอาการของสตรีวัยหมดประจำเดือน (ร้อยละ 54)
  3. กระดูกบาง (ร้อยละ 29)
  4. ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 35)
  5. โรคเต้านมที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านม (ร้อยละ 30)
  6. กรดยูริคในเลือดสูง (ร้อยละ 29)
  7. โรคอ้วน (ร้อยละ29)
  8. โรคกระดูกพรุน (ร้อยละ 29)
  9. ข้ออักเสบ (ร้อยละ 20)
  10. เบาหวาน (ร้อยละ 6)
ปัญหาทุพโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งปัญหาดงกล่าวเป็นผลมาจากความเสื่อมทางด้านสรีระ โดยเฉพาะระบบการบ่อย และดูดซึมสารอาหารภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการดำรงชีวิต เช่น สภาพทางเศรษฐกิจ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่ง ปัญหาการเบื่ออาหาร การรับประทานอาหารโดยไม่คำนึงถึงประเภทที่หลากหลาย และครบถ้วนของสารอาหาร ทำให้มีโอกาสขาดวิตามิน และแร่ธาตุสูงดังนั้นการดูแลสารอาหารที่ควรได้รับจึงมีความสำคัญและต้องมีความรบถ้วนอย่างพอดี ต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้น

สารอาหารที่จำเป็นต่อผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป

สารอาหารที่ช่วยปรับสมดุลระบบฮอร์โมน เช่น ไฟโตเอสโตรเจน จากาถั่วเหลือง เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้หญิงวัยนี้โดยไฟโตเอสโตรเจนจะมีบทบาทเป็นฮอร์โมนทดแทน แบบธรรมชาติ ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน ลดระดับไขมันในเลือดซึ่งจะก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม และป้องกันกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน การรับประทานสารอาหารที่ให้ไฟโตเอสโตรเจน จะมีความปลอดภัยกว่าการรับประทานฮอร์โมนทดแทนเนื่องจากการรับประทานฮอร์โมนทดแทน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม โรคหัวใจและหลอดเลือด



สารอาหารบำรุงกระดูก
  • แคลเซี่ยม ช่วยเพิ่มมวลกระดูกสูงไม่เพียงพอ ทำให้กระดูกแตกหักได้ง่าย แม้จะได้รับการกระแทกเพียงเล็กน้อย ในผู้หญิงวัยนี้การเสริมแคลเซี่ยม จึงมีความจำเป็นอย่างมาก
  • วิตามินดี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซี่ยมได้ดีขึ้นเพื่อความมั่นใจว่าร่างกายจะได้รับแคลเซี่ยมได้อย่างเต็มที่
สมอง

สารอาหารบำรุงสมอง
  • สารสกัดจากใบแปะก๊วย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง ทำให้ผนังหลอดเลือด มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงอีกทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงป้องกันการเสื่อมของเซลล์สมองจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคความจำเสื่อม และยังมีคุณสมบัติช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะอุดตันในหลอดเลือดสมอง


สารอาหารบำรุงสายตา
  • วิตามิน เอ มีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นโดยเฉพาะในการที่มีแสงสว่างน้อย ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาบอดกลางคืน (Night bllndness)
  • ลูติน สารประกอบกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบมากที่สุดบริเวณจุดศูนย์กลาง ของเรตินา ช่วยดูดซับแสงสีน้ำเงินก่อนจะมีผลเสียต่อดวงตา มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเรตินาและเลนส์ตา


ระบบประสาท
สารอาหารบำรุงระบบประสาท ช่วยเพิ่มการเผาผลาญอาหาร และบำรุงโลหิต

เมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของระบบประสาทจะต้องด้อยลง การดูดซึมสารอาหาร และประสิทธิภาพในการเผลผลาญอาหารก็ลดลงด้วย ส่งผลให้ผู้หญิงวัยนี้มีโอกาสขาดวิตามินได้แทบทุกตัว กลุ่มวิตามินที่บทบาทสำคัญในการบำรุงระบบประสาท ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญสารอาหารได้ดีคือ กลุ่มวิตามินบี ซึ่งยังมีความสำคัญต่อขบวนการสร้างเม็ดเลือด เพื่อให้สามารถนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ได้อย่างทั่วถึง ทำให้ร่างกายพร้อมเผชิญกับภารกิจได้ตลอดวัน


สารอาหารต้านอนุมูลอิสระ และชะลอความชรา
อนุมูลอิสระ เป็นสารพิษที่เกิดขึ้นตลอดเวลาภายในร่างกายปกติร่างกายเราสามารถกำจัดได้เองระดับหนึ่งแต่เมื่อคนเราสูงวัยขึ้นประสิทธิภาพการกำจัดจะลดลง ทำให้เกิดความเสื่อมของร่างกายผลของความเสื่อมที่เราเห็นคือผิวขาดความยืดหยุ่น เกิดริ้วรอยขณะเดียวกันก็เกิดความเสื่อมของอวัยวะภายในร่างกาย ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความจำเสื่อม มะเร็ง ฯลฯ ดังนั้น จึงควรได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่มีปริมาณมากพอ และมีความหลากหลายที่จะช่วยเสริมฤทธิ์กัน เพื่อชะลอความเสื่อมและการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี โคแอนไซม์ คิวเทน กรดอัลฟา ไลโปอิก รูติน และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น สังกะสี ซิลิเนียม



กลุ่มแร่ธาตุที่จำเป็น
แร่ธาตุที่มีความจำเป็นในกระบวนการเผาผลาญเพื่อให้ได้พลังงานของร่างกาย ในการใช้ชีวิตประจำวัน ช่วยเรื่องต้านความเครียด และช่วยเพิ่มความแข็งแรง ให้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ได้แค่ ธาตุเหล็ก สังกะสี แมกนิเชี่ยม โครเมียม


คำแนะนำในการเลือกซื้อ
ในปัจจุบัน มีสูตรวิตามินและสารอาหารต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นผ่านการคัดสรรทั้งชนิด และปริมาณที่เพียงพอ บรรจุในแคปซูลนิ่ม เพื่อความสะดวกในการดูแลสุขภาพผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะดังนี้
 
ประโยขน์ต่อสุขภาพ วิตามิน/สารอาหาร
ปรับสมดุลระบบฮอร์โมน สารสกัดจากจมูกถั่วเหลือง
บำรุงกระดูก แคลเซี่ยม วิตามินดี 3
บำรุงสมอง สารสกัดจากไบแป๊ะก๊วย
บำรุงสายตา วิตามิน เอ, ลูติน
บำรุงระบบประสาท
ช่วยเพิ่มการเผาผลาญอาหาร บำรุงโลหิต
กลุ่มวิตามินบี : บี1 , บี2, นิโคตินาไมด์
แคลเซี่ยม แพนโทธีเนต, บี6, บี12
กรดโฟลิก, ไบโอติน, ไอโนซิทอล
ต้านอนุมูลอิสระ
และชลอความชรา
วิตามิน อี, วิตามิน ซี, ซิลีเนี่ยม, โครเอ็นไซม์
คิวเทน, กรดอัลฟา ไลโปอีก, รูติน
ไบโอฟลาโวนอยด์
แร่ธาตุที่จ่ำเป็นต่อสุขภาพ ธาตุเหล็ก, ธาตุสังกะสี, แมกนิเซี่ยม, โครเมียม
 
เอกสารอ้างอิง
1.    L Shar et al, The Real Vitamin and Mineral Bock 3rd edition
2.    C Ronni, Micronutrient requirement in older woman, Am J Clin Nutr 2005;81 (suppl): 1240S5S
3.    J Bruno et al, Aging , Present knowledge in nutrition 8th edtion 2001;339-446
4.    www.pdrhealth.com
5.    www.medlineplus.com
6.    www.bangkokhospital.com

ข้อมูล MEGA We Care
วันที่ 3 ธันวาคม 2551

Saksiri Sirikul Research